Diary Life

ครั้งแรกในชีวิต เคยได้รับ รางวัล เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Prize about computer

posted by packetlovegolf November 13, 2016 0 comments

ครั้งแรกในชีวิต เคยได้รับ รางวัล เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  Prize about computer

20917
สำหรับรางวัลแรกในชีวิต เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับนั้น เกิดขึ้นช่วงที่ตอน ม.4 ที่โรงเรียนนารีนุกูลครับผม

คือได้เริ่มต้นเรียนกับอาจารย์สมปอง วิชาแรกที่เรียนคือ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ซึ่งเป็นวิชาเลือกเสรี ช่วง มัธยมศึกษาปีที่4 ปี พ.ศ. 2542 ครับ ช่วงนั้นผมเองก็อ่านหนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เยอะ และได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมพื้นฐานจากหนังสือ  ซึ่งอาจารย์สมปอง ท่านเองก็เห็นว่าผมมีความสนใจเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน ก็เลยอยากให้ทำส่งผลงาน เป็นโครงงานคอมพิวเตอร์เข้าประกวดดูบ้าง เพื่อจะได้พัฒนาทักษะทางด้านการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติม ซึ่งตอนนั้นเองมีโครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของทาง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) Nectec ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่สอง ในปี 2542 ชื่อว่า YSC.CSครั้งที่2

ซึ่งอาจารย์สมปองเองก็เล็งเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี สำหรับให้ลูกศิษย์ ที่เรียนในวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ได้นำความรู้มาต่อยอดสร้างเป็นโปรแกรมที่มีการทำงานซับซ้อนขึ้น เพื่อที่จะได้มีพัฒนาการในภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาปาสคานและได้พัฒนาทักษะทางด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อาจารย์สมปองได้นำเสนอหัวข้อของโปรแกรม ที่จะให้ผมนั้นพัฒนา เป็นโปรแกรม IQ180 ที่ระบบคอมพิวเตอร์จะสุ่ม ตัวเลขมาให้ 5 ตัว ให้ทำการใช้เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ บวก หรือ ลบ หรือ คูณ หรือ หาร ให้ผู้เล่นเกมส์เขียนออกมาเป็นสมการให้ได้คำตอบ ตรงตามที่ระบบคอมพิวเตอร์ทำการสุ่มออกมาให้ ถ้าสามารถหาสมการที่ได้ตรงตามตัวเลขที่สุ่มมาให้ก็จะได้ คะแนนไป 1 คะแนนน สำหรับข้อนั้นๆ และจำเวลาการเล่นเกมไว้ด้วย ทำเป็นสถิติว่าผู้ใช้งานคนไหนคิดได้เร็วและได้คะแนแนเยอะที่สุด

ซึ่งตอนนั้นเอง พวกเราได้พัฒนาโปรแกรมอยู่เกือบ 4 เดือน ในช่วงแรก และพัฒนามาเรื่อยๆอีก รวมๆก็อยู่ประมาณเกือบ 1 ปี เพื่อส่งเข้าประกวดในระดับภาค ที่ มหาวิทยาลัยสุรนารี ผลปรากฏว่า ผลงานโปรแกรม IQ180 ได้รับการคัดเลือกเข้าไปแข่งในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งเป็นงานในระดับประเทศ จัดขึ้นที่ กรุงเทพมหานคร ต่อไป ซึ่งครั้งนั้นเองก็เป็นครั้งแรก ที่อาจารย์สมปองและทีมลูกศิษย์ของวิชาพื้นฐานคอมพิวเตอร์ นำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนนารีนุกูล และจังหวัดอุบลราชธานี และครั้งนั้นเองก็เป็นจุดเริ่มต้น สำหรับการแข่งขันครั้งแรกของผมด้วยเช่นกัน ทำให้เกิดความประทับใจในการเอาใจใส่ของอาจารย์สมปอง ที่คอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม ตลอดจนการแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อน ซึ่งอาจารย์เป็นผู้วางแนวทาง และให้คำชี้แนะมาโดยตลอด

และในปี 2543 ซึ่งตอนนั้นผมกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งอาจารย์สมปองได้เสนอชื่อผมเพื่อเข้าไปรับรางวัลผู้ผลิตผลงานสื่อมวลชนดีเด่นเพื่อเยาวชน ประจำปี 2543-2544 ที่ทําเนียบรัฐบาล โดยที่เป็นผลงานจากโครงงานที่เคยทำไว้ และได้รับรางวัลในระดับภาค ซึ่งในตอนนั้น ท่านอาจารย์สมปอง ก็พาไปรับรางวัลกับท่านรัฐมนตรีปองพล อดิเรกสาร ที่ทำเนียบรัฐบาล ใน กรุงเทพมหานคร ยังเป็นความภูมิใจให้กับครอบครัว และเป็นเกียรติประวัติอันดีให้กับครอบครัว ซึ่งก็ต้องขอบพระพคุณในความรักและความเมตตาที่อาจารย์สมปอง ได้ช่วยเหลือจนได้รับรางวัลนี้ และได้ทำชื่อเสียงให้กับโรงเรียนนารีนุกูลอีกด้วย

%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a5
จากความประทับใจดังกล่าว แม้จะผ่านวันเวลามากว่า 19 ปีแล้ว ก็ยังคงนำเอาความรู้ และทักษะเกี่ยวกับทางด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในการทำงาน ในปัจจุบันเอง และยังคงช่วยเหลือสังคมในการเผยแพร่ข้อมูลทางด้านพระพุทธศาสนา ที่เว็บ http://www.kammatan.com และช่วยเผยแพร่แหล่งท่องเที่ยว อาหารการกิน รวมถึงศิลปะวัฒนธรรมที่ดีงามในจังหวัดอุบลราชธานี ผ่านเว็บไซต์ http://ubon.town เอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ก็ล้วนมาจากต้นแบบที่มีค่า และเป็นตัวอย่างที่ดีของศิษย์นั่นก็คือ ท่านอาจารย์สมปอง ตรุวรรณ์ และการสั่งสอนที่ดีของ บิดา มารดา รวมถึงอาม่า อาอี๊ อากู๋ ที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูผม ให้ความรู้ แนะให้คิดดี ทำดี พูดดี ประพฤติตามหลักศีลธรรม ตามหลักขององค์พระสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ท่านได้สั่งสอนไว้ ให้เจริญรอยตาม สุดท้ายนี้ผลบุญที่เกิดขึ้นก็น้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่ องค์ในหลวงรัชกาลที่9 รวมถึงบิดา มารดา อาม่า ครูบาอาจารย์ของข้าพเจ้า

“ชีวิตนี้เมื่อมีความเป็นอยู่เลี้ยงชีพได้พอเพียงแล้ว สิ่งต่อไปก็ช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือพระพุทธศาสนาให้สืบทอดคงอยู่ตราบชีวิตจะหาไม่”

img_1836
ตอนรับรางวัลกับท่านรองนายกรัฐมนตรี ปองพล อดิเรกสาร

 กอล์ฟ [at] packetlove.com
13 พย 2559

Comments

comments

You may also like

Leave a Comment