Golfreeze.packetlove.com: Life style of Golfreeze Canon400D Family kammtan.com Jazz Freebsd Unix Linux System Admin guitar Music

Common for life ทั่วๆไป กิน เที่ยว ภาษา เรื่องที่เกี่ยวข้อง => เรื่องทั่วไป เกี่ยวกับ Packetlove.com การจดจัดตั้งบริษัท => Topic started by: golfreeze on ธันวาคม 29, 2014, 06:20:17 AM

Title: วัดป่าศรีแสงธรรม จ.อุบลราชธานี หันมาประยุกต์ใช้โซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้า
Post by: golfreeze on ธันวาคม 29, 2014, 06:20:17 AM
เนื่องจากเห็นว่าโรงเรียนวัดมีการใช้พลังงานมากขึ้น ทำให้ “พระครูวิมลปัญญาคุณ” จากวัดป่าศรีแสงธรรม จ.อุบลราชธานี หันมาประยุกต์ใช้โซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้ในโรงเรียนศรีแสงธรรม ช่วยลดค่าใช้ไฟฟ้าได้จนเหลือแค่ไม่กี่สิบบาทต่อเดือน ทำ ให้โรงเรียนแห่งนี้กลายเป็นต้นแบบของการใช้พลังงานทางเลือก
       
          ทั้งหมดนี้ทำให้พระครูวิมลปัญญาคุณ เล็งเห็นประโยชน์การใช้พลังงานทางเลือกของประเทศชาติจึงต้องการบอกต่อเพื่อหวังให้รัฐส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนใช้โซลาร์เซลล์มากขึ้น
       
       •• เพราะอะไรจึงสนใจนำ เอาโซลาร์เซลล์มาใช้ในโรงเรียนศรีแสงธรรม
       
       อาตมาก่อตั้งโรงเรียนศรีแสงธรรมขึ้นมาเพื่อให้เป็นที่เรียนแก่เด็กยากไร้ ตั้งใจจะสร้างคนดีเข้าสู่สังคม ดังนั้นเราจึงทำโซลาร์เซลล์ขึ้นมา เพื่อเป็นกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และมีคุณธรรมควบคู่กันไป ฉะนั้นเด็กนักเรียนทุกคนจะได้เรียนวิชาพลังงานทดแทน ซึ่งโรงเรียนจะสอนการทำ โซลาร์เซลล์สอนการสร้างกังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า คือเรียนทุกอย่างเกี่ยวกับพลังงานทดแทน
       
       ดังนั้นเรื่องโซลาร์เซลล์จึงเป็นเรื่องที่เรานำ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน สิ่งที่สุดคือการนำ หลักปรัชญาพอเพียงมาใช้เพราะเราอยู่โรงเรียนบ้านนอก จะเรียกว่าด้อยโอกาสก็ได้ ฉะนั้นสิ่งที่เราจะอยู่รอดได้คือการพึ่งพาตนเอง และการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด นั่นก็คือ การใช้โซลาร์เซลล์เนื่องจากโรงเรียนเราเพิ่งก่อสร้างอาคารใหม่อาตมาเลยอยากให้อาคารนี้ประหยัดพลังงาน และเป็นต้นแบบอะไรให้แก่เด็กในหลายๆ เรื่องอาคารเรียนของเราจึงติดตั้งแผ่นโซลาร์เซลล์ขนาด 6 กิโลวัตต์และจะขยายบนตึกวิทยาศาสตร์เพิ่มอีกขนาด 10 กิโลวัตต์และกังหันลมปั่นไฟขนาดเล็กจำ นวน 40 ตัวให้ชาร์จประจุไฟฟ้าลงแบตเตอรี่ แล้วนำ มาแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าสลับให้ใช้ภายในตึกทั้งหมด เป็นการลดการใช้พลังงานที่ผลิตจากฟอสซิลหรือถ่านหิน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดสภาวะโลกร้อน
       
       พอติดโซลาร์เซลล์แล้ว ก็เห็นว่าลดการใช้พลังงานได้จริง เพราะช่วยให้โรงเรียนประหยัดพลังงานได้ ถ้าเปรียบเทียบค่าไฟก่อนการมีโซลาร์เซลล์ ค่าไฟเดือนที่สูงที่สุดคือประมาณ 5,700 แต่ตอนนี้ค่าไฟเราเดือนที่ต่ำ ที่สุดคือ 40 บาท คือเสียเฉพาะค่ารักษามิเตอร์เท่านั้นเอง
       
          นอกจากนั้น โรงเรียนเรายังมีการใช้พลังงานจากกังหันลมด้วย แต่วิธีการทำ ค่อนข้างยากกว่าการทำ โซลาร์เซลล์ และอายุการใช้งานอาจจะไม่ถึง 25 ปีเหมือนโซลาร์เซลล์ เพราะมันตากแดดตากลมอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นสำหรับคนทำ กังหันลมไม่เป็นอาตมาจึงมองว่าโซลาร์เซลล์ใช้ง่ายกว่า คือราคาถูก และได้ไฟดีด้วย เพราะความเข้มของแสงอาทิตย์ที่นี่หรือของประเทศไทยอยู่แถบศูนย์สูตรอยู่แล้ว จึงให้กำลังไฟดี
       
          ทุกวันนี้โรงเรียนเราก็มีคนมาขอดูงานเรื่องแนวคิดโซลาร์เซลล์ตลอด เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งอาตมาก็ยินดีที่จะส่งเสริมให้สถาบันเหล่านี้นำ ความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
       
       •• ในฐานะมีประสบการณ์ในการทำโซลาร์เซลล์มาแล้ว พระคุณเจ้ามีคำ แนะนำอะไรสำ หรับคนที่ต้องการใช้โซลาร์เซลล์บ้างไหม
       
          สำหรับคนที่สนใจ อาตมาอยากบอกว่า แค่ต่อวงจรเป็นหรือรู้จักอนุกรมขนาน ก็สามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้แล้ว ไม่ใช่เรื่องยากเลย ดังนั้นอย่าห่วงว่ามันจะยาก อย่าบอกว่ามันแพงอาตมาซื้ออุปกรณ์ทั้งหมดรวมเป็นเงิน 1.8 แสนบาท ถือว่าถูกมาก เพราะเราซื้อแผ่นโซลาร์เซลล์16 บาทต่อวัตต์ซึ่งสามารถใช้งานได้หลายปีคือประมาณ 25 ปีของอายุการใช้งาน จึงถือว่าคุ้มค่ามาก เมื่อก่อนเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์อาจจะยังใหม่ ในตำราเรียนเรายังเรียนตำราเก่าๆ หรือคนสอนยังใช้ทฤษฎีเก่าๆ มาอธิบาย คนเลยอาจคิดว่าแพง ต้นทุนสูง แต่เดี๋ยวนี้มันถูกพัฒนามามากและราคาถูกลงเลยอยากสนับสนุนให้ประชาชนหรือสถาบันการศึกษาต่างๆ หันมาใช้โซลาร์เซลล์มากขึ้น เพราะจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากเลย
       
       อาตมามีข้อมูลว่า หากโรงเรียนที่มีค่าไฟประมาณเดือน ละแสนบาทหันมาผลิตไฟฟ้าขนาด 166 กิโลวัตต์ ในโรงเรียนโดยใช้พื้นที่บนดาดฟ้าบนหลังคาอาคาร หรือพื้นที่ว่างเปล่าของโรงเรียนในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ โดย 1 กิโลวัตต์ ใช้พื้นที่ประมาณ 8 ตร.ม.หาก 166 กิโลวัตต์ จะใช้พื้นที่ประมาณ 1,300 ตารางเมตรหรือใช้พื้นที่ไม่ถึงครึ่งของสนามฟุตบอล ก็จะประหยัดงบประมาณได้ปีละ 1,200,000 บาท หรือถ้าสามหมื่นกว่าโรงเรียนทั่วประเทศทดลองนำร่อง 1,000 โรงเรียน ก็จะประหยัดได้มากถึงปีละหนึ่งพันสองร้อยล้านบาท หรือถ้านำ มาพัฒนาการเรียนการสอนของครู นักเรียน หรือจ้างครูเงินเดือน 15,000 บาทก็จะได้ครูประมาณ 6,666 คนเข้ามาในระบบการศึกษา และจะได้ไฟฟ้ามากกว่า 160 เมกะวัตต์เข้ามาในระบบ เป็นการช่วยลดการผลิตไฟฟ้าด้วย
       
          หรือยกตัวอย่างโรงเรียนขนาดเล็กที่ใช้ไฟ1,000 หน่วยต่อเดือน ถ้าลงทุนติดตั้งแผ่นโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 6 กิโลวัตต์จะลดค่าไฟฟ้าได้เดือนละประมาณ 4,000 บาทและสามารถคืนทุนได้ภายใน 4 ปีจากนั้นแผ่นโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานถึง 25 ปีหากคิดค่าไฟปีละ 48,000 บาทไปอีก 21 ปีก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้นับล้านบาท
       
          หรือถ้าสถาบันการศึกษาต่างๆที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 1 เมกะวัตต์ทดลองผลิตใช้เองก็จะประหยัดค่าไฟได้ประมาณเดือนล่ะหกแสนบาท หรือปีละ 7.2 ล้านบาท หากทำ สักพันแห่งทั่วประเทศจะมีเงินเหลือ 7.2 X 1,000 เท่ากับประมาณ 7,000 ล้านต่อปีเกิดการจ้างงานมากมายหรือนำ เงินมาพัฒนาระบบการศึกษาได้นี่คือประโยชน์ของการทำ โซลาร์เซลล์
       
       •• อยากทราบว่าช่วงที่ดำเนินการติดตั้งโซลาร์เซลล์นี้ เจอปัญหาอะไรบ้าง และอยากเสนอทางแก้ไขอย่างไร
       
       ปัญหาที่เจอในส่วนของวัดคือ ความชัดเจนในการเชื่อมต่อ คือเวลาเราจะไปเชื่อมไฟกับการไฟฟ้าฯ การไฟฟ้าก็ไม่ค่อยอยากให้เชื่อมไฟ ทุกวันนี้จึงเหมือนว่ารัฐยังไม่สนับสนุนเต็มที่ถามว่ากีดกันไหม ก็คือกีดกันโดยระเบียบ แม้ทุกวันนี้เขาปล่อยให้วัดเชื่อมไฟได้ แต่ไม่รู้ว่าวันไหนเขามาบอกให้ปลด เพราะว่าเคยมีคนโดนปลดมาแล้ว อาตมาเลยสงสัยว่าทำ ไมรัฐไม่ส่งเสริม ให้มันดีขึ้น ทำไมไม่ทำเหมือนขายจานรับดาวเทียม คุณขายมา พอเราติดตั้งปุ๊บใช้ได้เลย เพราะเราอยากจะทำให้มันถูกต้อง เรา ไม่ได้เรียกร้องให้มีการขายไฟฟ้า แต่ต้องการบอกว่ามันมีทรัพยากรตรงนี้ มีพลังงานอยู่ตรงนี้ แต่ทำ ไมไม่ให้ประชาชนใช้ได้ง่ายๆ รัฐ ควรจะส่งเสริมไปเลยว่าใครมีกำลังผลิต ก็ผลิตได้เลย
       
       เรื่องที่สอง อาตมามองไปถึงว่าเรื่องการขาดแคลนพลังงานทดแทน ถ้าหากประเทศไทยขาดแคลนพลังงาน ทำไมไม่ดึงพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นมาใช้ เคยมีข้อมูลว่าหากรัฐจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ตั้งเลขกลมๆ ไว้ว่า 1 โรงไฟฟ้าขนาด 1,000 เมกะวัตต์ ต้องใช้เงินลงทุน 1 แสนล้านบาท แต่ถ้าคุณใช้ไฟจากโซลาร์เซลล์ 3,500 วัตต์ จะใช้หลังคาเรือนแค่ 1.2 ล้านหลังคาเรือน เท่ากับได้ไฟฟ้าเท่ากับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4 โรงเลย แล้วอย่าบอกว่าไฟไม่เสถียร เพราะเป็นการพูดไม่หมด คือ เราสามารถผลิตไฟจากโซลาร์เซลล์ได้ทั้งวันอยู่แล้ว ดังนั้นช่วงที่เราใช้ไฟจากแสงอาทิตย์ในตอนกลางวัน คุณก็หยุดหรือลดเครื่องจักรในการผลิตไฟจากถ่านหินได้ จากก๊าซในช่วงเวลากลางวัน เป็นการช่วยประหยัดพลังงานและช่วยลดการนำ เข้าก๊าชในระดับหนึ่ง
       
       แล้วการทำโซลาร์เซลล์ มันสามารถดึงเป็นไฟ 110 โวลต์ใช้กับเครื่องไฟฟ้าขนาด 110 โวลต์ ได้ทั้งหมดเลย โดยไม่จำเป็นต้องใช้ไฟถึงขนาด 220 โวลต์ก็ได้ แต่ปัญหาคือ ตอนนี้ประเทศไทยไม่มีการผลักดัน ไม่มีการส่งเสริมโซลาร์เซลล์ให้เกิดการใช้จริงจังกว่านี้ คิดว่าถ้าหากเป็นนโยบายของผู้นำ ที่ผลักดันเรื่องนี้ขึ้นมาเชื่อว่าการไฟฟ้าฯ หรือว่ากระทรวงพลังงาน จะทำ ตามนโยบายของผู้นำ ประเทศ ดังนั้นปัญหาเรื่องเทคนิค การปฏิบัติหรือว่ากฎหมายต่างๆ ก็คงจะโดนปรับเปลี่ยนไปช่วยให้มันเอื้อต่อการใช้โซลาร์เซลล์มากขึ้น ไม่ใช่ให้ไปวิ่งตามระเบียบแบบแผน เพราะมันจะไม่จบ มันไม่ใช่การส่งเสริม อาตมาจึงอยากจะให้มีการนำพลังงานโซลาร์เซลล์ขึ้นมาใช้อย่างจริงจัง และอยากให้รัฐส่งเสริมนโยบายเรื่องนี้ให้มากขึ้นด้วย คือ อยากเป็นวาระแห่งชาติไปเลย
       
       •• ถ้าอย่างนั้นคิดว่ารัฐควรจะส่งเสริมการใช้โซลาร์เซลล์อย่างไรบ้าง จึงจะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด<ฝb>
       
       ถ้าในแง่โรงเรียน อาตมาเห็นว่ารัฐควรส่งเสริมให้โรงเรียนผลิตไฟฟ้าใช้เอง เพราะโรงเรียนใช้ไฟในช่วงกลางวันมาก ผลิตไฟแล้วก็ไม่ต้องขายให้การไฟฟ้าฯ เพราะว่าเป็นเงินภาษีของรัฐหรือถ้ารัฐยินดีซื้อไฟจากโรงเรียนก็สามารถซื้อได้ โรงเรียนจะได้เอาเงินตรงนี้มาสนับสนุนแก่ภาคการศึกษา สาเหตุที่บอกอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่าอาตมาต้องการขายไฟจากโรงเรียนตนเองให้แก่รัฐนะ แต่อาตมาพูดในแง่ประโยชน์โดยรวมของภาคการศึกษาเพราะทุกวันนี้งบประมาณกระทรวงศึกษาฯ ปีหนึ่งๆ เยอะมากโดยมากหมดไปกับค่าแอร์ และค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ แต่ถ้าโรงเรียนเหล่านี้ขยับขึ้นมาผลิตกระแสไฟฟ้าเอง ก็จะช่วยประหยัดค่าไฟและประหยัดงบประมาณของรัฐได้ ลองคิดดูว่ามีกี่โรงเรียนในประเทศไทย ถ้าหากทำ ได้ทั้งหมด ก็จะช่วยประหยัดงบจำนวนมหาศาล โดยรัฐอาจส่งเสริมว่าโรงเรียนไหนมีศักยภาพ ก็ให้ทำไปก่อน
       
       ส่วนในแง่ของประเทศชาติ อาตมาเห็นว่ารัฐควรอนุญาตให้ประชาชนผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบเชื่อมต่อสายส่งหรือ ออนกริดแบบเสรี และควรพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้รองรับการผลิตจากประชาชนทุกรูปแบบ รวมถึงรับซื้อไฟฟ้าทุกชนิดที่ผลิตเข้าสู่ระบบได้ไม่เลือกปฏิบัติ โดยอาจให้วัด โรงเรียนและองค์กรไม่แสวงหาผลกำ ไรผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าได้เต็มปริมาณการใช้ของตนเอง
       
       นอกจากนั้นหากหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน สามารถ ผลิตไฟเข้าสู่ระบบได้เท่ากับปริมาณการใช้ของตนเองหรือผลิตเกินก็ให้รัฐรับซื้อ และควรให้โอกาสภาคประชาชนในการผลิตไฟฟ้าก่อนทุนขนาดใหญ่ อาตมาเชื่อว่าหากรัฐทำ เหล่านี้ได้จริงก็จะช่วยให้เกิดการผลักดันการใช้โซลาร์เซลล์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
       
       ถ้าลองคิดตัวเลขเล่นๆ ถ้าชาวบ้านสามารถผลิตและขายไฟฟ้าได้ มีรายได้เดือนละ 1,000-2,000บาท ตามบ้านนอก เขาเรียกว่าเศรษฐีบ้านนอก เพราะกว่าชาวบ้านจะได้เงินมา 4,000-5,000 บาท ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องรอลูกกลับบ้านปีละครั้งถึงได้เงินไปรับจ้างที่กรุงเทพฯ แต่หากชาวบ้านอยู่ที่บ้านแล้วมีรายได้จากหลังคาบ้านตัวเอง ก็จะช่วยให้พวกเขามีรายได้และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น คือใครพร้อมก็ลงทุนไปก่อน อย่าไปเอื้อกับนายทุนพลังงาน หรือว่ากลุ่มทุนที่เป็นโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่ แต่ให้ทำขนาดเล็กเหมือนกองทัพมดขยับขึ้นไป คือ ทุกหมู่บ้านทุกหลังคาเรือนมีโซลาร์เซลล์ ถ้ามองภาพใหญ่ขึ้นไป มันคือการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรากหญ้าขึ้นมา หรืออาจให้เขาทำ เป็นกลุ่ม คือกองทุนหมู่บ้านละล้าน เอาเงินมาลงทุนทำ โซลาร์เซลล์แล้วรัฐรับ ซื้อจากเขา ลองรัฐบาลรับซื้อ 7 ปี เชื่อว่าจะมีเงินคืนทุน เพราะขนาดอาตมา ทำประมาณ 3 ปีก็คืนทุนแล้ว
       
       •• หากรัฐส่งเสริมการใช้โซลาร์เซลล์อย่างจริงจัง คิดว่าจะเกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างไรได้บ้างอีก<ฝb>
       
       อย่างที่บอกว่าหากรัฐส่งเสริมให้มีเงินกองทุนสำหรับหมู่บ้าน เพื่อทำโซลาร์เซลล์ รัฐก็แค่สอนวิธีบริหารเงิน 1 กองทุน ล้าน และเงินที่จะบวกขึ้นมา มันก็จะกลายเป็นกองทุนหมู่บ้านโดยที่รัฐไม่ต้องลงทุนเงินแสนล้าน เพื่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพราะชาวบ้านเขามีไฟฟ้าใช้เองและมีรายได้มาจากจากหลังคาบ้านตัวเอง
       
       ดังนั้นหากส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าในชุมชน ก็สามารถนำเงินจากกองทุนหมู่บ้านมาเป็นเงินลงทุน หรืองบพัฒนาองค์การบริหารท้องถิ่นได้ เมื่อถึงระยะคืนทุนแล้ว แต่ละหมู่บ้าน หรือแต่ละองค์การจะมีเงินกองทุนเป็นของตนเอง ภาระเบี้ยยังชีพ เบี้ยประชานิยมต่างๆก็จะมีหมุนเวียนกันเอง ส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมเรียกว่าระเบิดจากข้างใน ฉะนั้นหากรัฐมีการส่งเสริมให้แต่ละระดับสามารถผลิตไฟฟ้าได้เองตามศักยภาพ ตั้งแต่ระดับครัวเรือน หมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำ บล , เทศบาล, องค์การบริหารส่วนจังหวัด ก็จะช่วยเพิ่มรายได้ต่อครัวเรือน ทำ ให้ระบบเศรษฐกิจดีขึ้น และหากภาคประชาชนสามารถผลิตไฟฟ้าได้เกินปริมาณที่ใช้อยู่ก็จะช่วยให้ระบบโครงข่ายไฟฟ้ามีไฟฟ้าในระบบเพิ่มมากขึ้นโดยภาครัฐไม่ต้องลงทุนการผลิตไฟฟ้าเพิ่มเลย
       
       เราดูตัวอย่างจากประเทศที่ประสบผลสำเร็จด้านพลังงานแสงอาทิตย์ก็ได้ เช่น ประเทศเยอรมนี เขารับซื้อไฟทั้งหมดที่ผลิตได้จากประชาชน ก็ทำ ให้วิกฤติการขาดแคลนพลังงานหมดสิ้นไปภายในระยะไม่กี่เดือนและมีพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย
       
       เมื่อไม่มีการขาดแคลนพลังงาน รัฐก็จะประหยัดงบประมาณในการสร้างแหล่งพลังงานหรือโรงไฟฟ้าต่างๆได้ เช่นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่หลายฝ่ายพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นในประเทศไทย 4 โรง ต้องใช้งบประมาณถึงสี่แสนล้านบาท หากรัฐเปลี่ยนมาผลักดันเน้นใช้โซลาร์เซลล์ ประเทศไทยก็อาจไม่จำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และสามารถนำ เงินที่จะลงทุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นำ มาพัฒนาระบบสายส่งให้รองรับไฟจากโซลาร์เซลล์ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นอย่างมาก
       
       อาตมาจะฝากถึงรัฐบาลว่า สิ่งที่นักวิชาการชอบพูดว่าโซลาร์เซลล์ทำ ยาก ต้นทุนสูง ไม่เป็นความจริง เพราะโครงการของอาตมาก็สามารถทำได้ง่ายๆ ไม่ต้องใช้ทุนอะไรมากมาย ตอนนี้โรงเรียนสามารถทำได้แล้ว ชาวบ้านก็ทำ แล้ว หลายวัดก็ทำแล้ว เพียงแต่ยังไม่เปิดเผย จึงอยากจะให้รับเข้ามาสนับสนุนตรงนี้ ไม่ใช่แค่ใช้คำ พูดว่าสนับสนุนอย่างเต็มที่แล้ว แต่ควรทำอะไรที่สามารถนำขึ้นมาใช้ได้จริง ขอให้รัฐสนับสนุนอย่างเต็มที่ รับซื้อพลังงานทุกรูปแบบ และรับฟังเสียงประชาชนด้วยว่า เขาอยากจะผลิตไฟฟ้าเสรี หรือเขาอยากจะซื้อขายไฟ อยากให้ฟังตรงนี้ เพราะว่าทุกคนยินดีที่จะลงทุนเอง ไม่ใช่ว่าอยากให้รัฐลงทุนให้ แล้วมาขายให้รัฐ แต่ทุกคนไม่ต้องการจ่ายค่าไฟแพงและสามารถผลิตไฟเองได้
       
       ทุกวันนี้ดูเหมือนว่ารัฐบาลจะสนับสนุนแต่เรื่องพลังงานสะอาด เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหินที่ จ.กระบี่ ที่กำลังจะสร้าง ชาวบ้านร้องเรียนไป ก็ไม่มีใครสนใจ ทั้งที่มันเป็นปัญหาและทำ ให้ชาวบ้านเดือดร้อน ความจริงถ้ารัฐบาลไม่มองเศรษฐกิจ ไม่มองเม็ดเงินเป็นหลัก คือบริหารประเทศโดยมองความผาสุกของประชาชนเป็นหลัก ถือเป็นเรื่องสำ คัญกว่า เพราะพอประชาชนมีความสุขมีสุขภาพกายดี สุขภาพจิตดี เขาก็ไม่เจ็บป่วย และสามารถที่จะสร้างเม็ดเงินได้
       
       แต่หากรัฐบาลมองเห็นแต่เม็ดเงินอย่างเดียว ไม่สนใจสุขภาพประชาชน ลองไปค้นดูข้อมูลดูได้ ทุกวันนี้รัฐบาลต้องสั่งซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์และซื้อยาเข้ามาปีละ 5-6 แสนล้านต่อปี แต่ถ้าหากรัฐบาลเปลี่ยนมาดูแลเรื่องความผาสุกของประชาชนดูแลเรื่องสุขภาพของประชาชน หรือใส่ใจเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ปัญหาเหล่านี้จะลดลงไปเยอะ ประชาชนจะไม่ต้องเจ็บป่วย ไม่ต้องไปเจอสารพิษต่างๆ เรียกว่าพอประชาชนมีความสุขแล้ว เศรษฐกิจก็น่าจะดีกว่าด้วยซ้ำ ไป ฉะนั้นอาตมาอยากให้ผู้นำ ประเทศ คือพลเอกประยุทธ์ไม่มองแต่เรื่องเม็ดเงิน เป็นหลัก แต่ให้มองความสุขของประชาชน และมันจะกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่แท้จริง และช่วยให้ประเทศไทยมีความสุขมากขึ้น
       
       ภาพโดย : ปัญญพัฒน์ เข็มราช
       
       ร่วมทำบุญกับวัดป่าศรีแสงธรรม
       สนใจทำ บุญ สามารถบริจาคเงินทำ บุญร่วมเป็นเจ้าภาพผ้าป่าสามัคคี เพื่อสร้างอาคารโรงเรียนศรีแสงธรรมได้ เนื่องจากขณะนี้โรงเรียนกำลังขาดปัจจัยในการก่อสร้างอาคารโรงเรียน โดยโอนเงินทำ บุญผ่านบัญชีธนาคารได้ที่“กองทุนการศึกษาวัดป่าศรีแสงธรรม” ธนาคารกรุงเทพ สาขาย่อยเทสโก้โลตัสพิบูลมังสาหาร หมายเลขบัญชี 786-006-3333 หรือ “โรงเรียนศรีแสงธรรม” ธนาคารกรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัส พิบูลมังสาหาร หมายเลขบัญชี 862-0-064355



ขอบพระคุณข้อมูลจาก : http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9570000149104 (http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9570000149104)