การขึ้นทะเบียนคนว่างงาน ที่สำนักงานจัดหางานสำนักงานจัดหางาน กับสำนักงานประกันสังคมไม่เหมือนกัน (ที่เราเสียเงิน 5% ของเงินเดือนทุกๆเดือนไปให้ประกันสังคม)
สำนักงานจัดหางาน = เราไปลงทะเบียนว่าเราว่างงานและที่ไปรายงานตัวทุกๆ 30 วัน
สำนักงานประกันสังคม = โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ที่เราได้ไปลงทะเบียนกับสำนักงานจัดหางาน
เป็นการสร้างหลักประกันโดยการจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง
เอกสารที่ใช้
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 2 ใบ
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ (หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน) 1 ใบ
- หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส.6-09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้ (ถ้ามี)
- หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
ไปถึงแล้วทำอย่างไร (ไปได้ตั้งแต่วันที่ว่างงานวันแรกได้เลย)
1. ไปรับเอกสารที่ช่อง 1 มากรอกให้ครบ
2. นำเอกสารที่กรอกเสร็จแล้วไปยื่นที่ช่อง 2
ยกตัวอย่างแบบ 3 เดือน
1. ไปขึ้นทะเบียนวันที่ 1 มกราคม จะต้องไปรายงานตัวในวันที่ 1 กุมภาพันธ์
2. วันที่ 2-7 จะเป็นวันที่ทำการตรวจสอบ
3. หลังจากนั้นวันที่ 8 กุมภาพันธ์ เงินจะโอนเข้า
4. 1 มีนาคมไปรายงานตัว 8 มีนาคมเงินจะโอนเข้า
5. 1 เมษายนไปรายงานตัว 8 เมษายนเงินจะโอนเข้า
ข้อควรรู้
1. ขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานที่ไปขึ้นทะเบียนไว้ ภายใน 30 วัน (นับแต่วันที่ว่างงาน)
(แนะนำว่าไปหลังจากลาออกจากไปแล้ว 15 วัน - 20 วัน เพราะ
1.1 การขอรับเงินว่างงานผู้ประกันตนต้องว่างงานตั้งแต่ 7 วันขึ้นไป
1.2 เอกสารที่ส่งจากบริษัทไปสำนักงานประกันสังคมกำหนดให้แจ้งไม่เกิน 15 วัน
1.3 สำนักงานประกันสังคมเมื่อได้รับเอกสารตามข้อ 1.2 จึงสามารถทำการบันทึกได้
2. ต้องรายงานตัวทุกเดือนที่เรายังว่างงานอยู่ ที่สำนักงานจัดหางานที่ไปขึ้นทะเบียนไว้
*** ต้องไปรายงานตัวทุกวัน ที่กำหนดไว้ทุกเดือน กรณีที่ไม่ว่างในวันนั้นๆ สามารถไปก่อนได้ไม่เกิน 7 วัน และหลังจากวันนัดไม่เกิน 7 วัน ถ้าไม่ไปรายงานตัวจะไม่ได้รับเงินค่าชดเชยของเดือนนั้นๆ ***
2.1 กรณีลาออกเอง จะได้รับเงินชดเชย 30% ของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 15,000 บาท (เป็นเวลา 3 เดือน : เดือนละ 1 ครั้ง)
ตัวอย่าง : เงินเดือน เดือนสุดท้ายได้ 15,000 บาท 15,000x0.3 = เราจะได้เดือนละ 4,500 บาท
2.2 กรณีถูกเลิกจ้าง (ไม่มีความผิด) จะได้รับเงินชดเชย 50% ของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 15,000 บาท (เป็นเวลา 6 เดือน : เดือนละ 1 ครั้ง)
ตัวอย่าง : เงินเดือน เดือนสุดท้ายได้ 15,000 บาท 15,000x0.5 = เราจะได้เดือนละ 7,500 บาท
ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี มีดังนี้
- ทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
- จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
- ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณี ร้ายแรง
- ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
- ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
- ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
- ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย
- ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39
3. เราต้องมีหลักฐานว่าเรามีความสามารถในการทำงานและพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้และต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
คือ ในระหว่างที่เราว่างงานนั้นจะต้องมีหลักฐานว่าเราไปสมัครงานที่โน่น ที่นี่มา เหมือนไปสัมภาษณ์งาน หรือ พริ้น Apply เวลาเราหางานใน Jobthai ก็ได้ หรือเราออกมาทำธุรกิจส่วนตัวก็สามารถเขียนได้
4. เงินงวดแรกจะได้ภายใน 7 วันหลังจากที่รายงานตัวครั้งแรก โดยการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารที่ท่านยื่นหลักฐานไว้ ในวันที่ท่านไปติดต่อ สำนักงานจัดหางานครั้งแรก
ขอบพระคุณข้อมูลจากK.kauw5164 :
http://pantip.com/topic/32689010อ่านแล้วโปรดทราบ ทางเว็บ และทางทีมงานไม่ใช่สถานที่ขึ้นทะเบียนคนว่างงาน หรือสำนักงานจัดหางาน นะครับ
แค่เอาข้อมูล มาลงให้ทราบกันเฉยๆ ถ้ามีคำถามเพิ่มเติมแนะนำให้โทรไปติดต่อ
กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน
สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1 - 10
สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1
ชั้น 1 อาคารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(เก่า) ภายในบริเวณกระทรวงมหาดไทย
ถนนเฟื่องนคร เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
รับผิดชอบ เขตดุสิต/ป้อมปราบศัตรูพ่าย/พระนคร/สัมพันธวงศ์
โทร. 0-2223-2684-5,0-2223-6215-6
http://www.doe.go.th/office1/