คำถามยอดฮิต จะจัดตั้งนิติบุคคลในรูปแบบใดดี ระหว่างบริษัท กับห้างหุ้นส่วน
Submitted by prickthai on Wed, 02/29/2012 - 15:35
ก่อนจะจัดตั้ง อะไรก็ตามที่คุณต้องการ ตั้งสติและสอบถามตัวเองก่อน..คุณพร้อมหรือยัง..ถ้าพร้อมแล้วมารับรู้ภาระหน้าที่ที่คุณจะต้องเจอเมื่อจัดตั้งเป็นนิติบุคคล
1. กรมพัฒนธุกิจการค้า หรือที่เราเรียกกันว่า พาณิชย์จังหวัด นั่นแหละ สิ่งที่เราจะต้องนำส่ง ก็คือ
- งบการเงิน ประจำปี หากไม่ส่งถูกปรับสูงสุด 12,000 บาท หากส่งช้าก็ค่าปรับตามอัตราที่กำหนด
2. กรมสรรพากร สิ่งที่เราต้องรู้ก็คือ
- ถ้าเราจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเรียกสั้นๆ ว่า แวต (VAT) มีหน้าที่ต้องยื่นแบบทุกเดือน ถ้าไม่ยื่นเดือนนั้นต้องจ่ายค่าปรับไม่ยื่นแบบ 500 บาท ถ้าไม่มีภาษีต้องจ่ายก็ถือว่าโชคดี แต่เมื่อไหร่มีภาษีต้องจ่าย โดนเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม กันหนักแน่ รายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะสำหรับ VAT ไว้จะกลับมาอธิบายเฉพาะเรื่องนี้ใหม่
- ภ.ง.ด. 1 , 3 และ 53 เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือ เรามีหน้าที่ต้องหักไว้ และนำส่งสรรพากร ถ้าไม่มีเราก็ไม่ต้องยื่นในเดือนนั้น พูดง่ายๆ เดือนไหนมีถึงนำส่ง
- ภ.ง.ด. 51 จะต้องประมาณการรายได้ทั้งปี และนำไปยื่น ภายใน 2 เดือนหลังรอบระยะบัญชี 6 เดือน ถ้าไม่ยื่นก็ถูกปรับ 2,000 แบบนี้ผู้ประกอบการโดนกันเยอะ เพราะไม่ยื่นคิดว่าไม่ยื่นก็ได้
- ภ.ง.ด. 50 ยื่นภายใน 150 วัน หลังจากปิดงบการเงินประจำปี ถ้าไม่ยื่นก็ถูกปรับ 2,000 บาท และต้องยื่นพร้อมกับงบการเงินที่รับรองโดยผู้ สอบบัญชี
- ภ.ง.ด. 1 ก สรุปรายงานการจ่ายเงินเกี่ยวกับพนักงานทั้งปี
3. สำนักงานบัญชี จะเลือกทำกับใครนั่นก็แล้วแต่เจ้าของเงิน การเลือกก็ต้องพิจารณาว่า จะรับ-ส่ง เอกสารทางบัญชีกันได้สะดวกหรือไม่ ไว้ใจเรื่องเงินๆทองได้มากน้อยแค่ไหน ความรับผิดชอบที่จะได้รับตอบแทนเมื่อเสียเงินจ้างไปแล้ว ความเสี่ยงด้านภาษีต่างๆ รอบรู้จริงแท้แค่ไหน จากการบอกเล่า ของเจ้าของกิจการบางคน ทำให้ทราบว่ายังมีบางสำนักงานทำให้วิชาชีพอย่างเราเสียหาย เช่น สรรพาเรียกตรวจก็ไม่รับผิดชอบ จ่ายเงินภาษีให้ไปจ่ายกับสรรพากรก็ไม่ไปจ่ายจนสรรพากรมีจดหมายเรียกพบ มีปัญหาขอคำปรึกษาก็ไม่เต็มใจตอบ โทรไปก็ติดยาก ทีมาเก็บเงินเร็วมาก อีกมากมายที่ได้ยินมา แต่ก็เชื่อว่านั่นเป็นส่วนน้อย นักบัญชีที่ดีไม่ทำแบบนี้แน่นอน เพราะจะคิดอย่างละเอียดรอบคอบเสมอเรื่องเงินๆทองๆ และยิ่งเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆยิ่งระมัดระวังอย่างยิ่งเพราะสิ่งที่จะเกิดขึ้นมันคือเงินออกจากกระเป๋าเราอย่างไม่มีข้อต่อรอง หรือหากจะต้องต่อสู้ก็ต้องใช้เวลา เสียทั้งเงินและเวลา
ไม่ใช่แค่สำนักงานบัญชีบางที่ที่โดนต่อว่า มาดูฝั่งผู้จ้างว่า ในบางครั้ง ท่านก็ไม่เข้าใจในสิ่งที่เราเตือนเลย เช่น ต้องจ่ายภาษีนะ ต้องส่งเอกสารล่วงหน้านะ ท่านก็ให้เราโทรติดตามหลายครั้ง ส่งเอกสารมาก็คืนนี้พรุ่งนี้ต้องยื่นแบบแล้ว จะเอาเวลาไหนมาละเอียดถี่ถ้วน เงินค่าจ้างจ่ายบ้างไม่จ่ายบ้าง ช้าตลอด และยังจะให้สำรองจ่ายให้ก่อนอีก เอกสารทำไม่ถูกต้องผิด ใช้ไม่ได้ บอกแล้วครั้งต่อมาก็ยังเหมือนเดิม
บางกิจการไม่อยากเสียเงินจ้างทำ จะทำเอง ทำไปทำมาผิดๆถูกๆ ผลสุดท้ายก็ยังต้องมาจ้างสำนักงานบัญชีทำอยู่ดี เผลอๆอาจจะแพงกว่าที่คุณจ้างตั้งแต่แรกก็ได้ จำไว้ได้เลยไม่ว่ายังไง เค้าก็ต้องคิดค่าจ้างคุณตั้งแต่เริ่มต้น เพราะต้องทำบัญชีใหม่ทั้งหมดให้คุณอยู่ดี ถึงแม้คุณจะทำมาแล้วก็ตาม เจ้าของกิจการจะไม่เข้าใจว่าทำบัญชีคืออะไร การทำบัญชีก็คือ การเอาเอกสารแต่ละใบของคุณมาบันทึกบัญชี เพื่อให้ออกมาเป็นรายงานทางการเงิน ไม่ใช่แค่การยื่นภาษีเท่านั้น
จากนั้นก็มาพิจารณาว่าจะตั้งเป็นห้างหุ้นส่วน หรือเป็นบริษัท และทั้งสองแบบแตกต่างกันอย่างไร
ก่อนอื่น ถามตัวคุณเองก่อน จะตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร ทำไม ส่วนใหญ่คำตอบที่ได้รับก็คือเพื่อนแนะนำมา ลูกค้าบอกขอหนังสือรับรองบริษัท จะใช้กู้ธนาคารบ้าง มาดูกันว่าแต่ละแบบต่างกันยังไง
1. ห้างหุ้นส่วน (Partnership) เป็นรูปแบบของการดำเนินธุรกิจ ที่มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมาร่วมกันจัดตั้ง กิจการ โดยเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน มีสัญญาเข้าเป็นหุ้นส่วนกัน และแบ่งผลกำไรกัน ห้างหุ้นส่วนมี 2 ประเภท คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Unlimited Partnership) ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนประเภทที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนี้จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ กับห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทที่มีหุ้นส่วนบางคนรับผิดชอบเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตน รับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้นเท่านั้น ความน่าเชื่อถือจะมากกว่า กิจการเจ้าของคนเดียวหรือร้านค้าธรรมดา
2. บริษัทจำกัด (Limited Company) เป็นรูปแบบของการดำเนินธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งเงินทุนเป็นหุ้นมี มูลค่าเท่า ๆ กัน ผู้ถือหุ้นซึ่งก็คือเจ้าของกิจการต้องรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ ตนเองจ่ายเงินลงทุน เช่น ถือหุ้น 20% จ่ายเงินไป 1 แสน ก็รับผิดชอบแค่ 1 แสน ดังนั้นใครถือเยอะก็รับผิดชอบเยอะ ความน่าเชื่อถือมากกว่า 2 รูปแบบ
3. กิจการเจ้าของคนเดียว คือ กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว ควบคุมการดำเนินเอง
ทั้งหมด เมื่อกิจการประสบผลสำเร็จมีผลกำไรก็จะได้รับผลประโยชน์เพียงคนเดียว ในขณะเดียวกันก็ยอมรับการเสี่ยงภัยจากการขาดทุนเพียงคนเดียวเช่นกัน กิจการประเภทนี้มีอยู่ทั่วประเทศจำนวนมาก ได้รับความนิยมสูงสุดและเป็นธุรกิจที่เก่าแก่ที่สุด การดำเนินงานไม่สลับซับซ้อน มีความคล่องตัวสูงในการตัดสินใจดำเนินงาน กิจการมีขนาดเล็กกว่าธุรกิจประเภทอื่น ตัวอย่างกิจการประเภทนี้ เช่น หาบเร่แผงลอย ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ร้านเสริมสวย ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ปัจจุบันขอใบทะเบียนการค้าได้ที่ อบต. พื้นที่ที่จะจัดตั้ง
ลำดับ รายการ บริษัท ห้างหุ้นส่วน ร้านค้าธรรมดา
1 ค่าบริการในการจัดตั้ง ทุน 1 ล้านบาท 11,000 4,500 1,500
2 ผู้ถือหุ้น 3 คน 2 คน 1 คน
3 ทุนจดทะเบียน 1 ล้าน N/A ไม่มี
4 ความน่าเชื่อถือ มาก พอสมควร N/A
5 จดทะเบียน VAT จดได้ จดได้ จดได้
6 ไม่เข้า VAT ได้หรือไม่
(ถ้ารายได้ไม่เกิน 1.8 ล้าน) ได้ ได้ ได้
7 หน้าที่จัดทำบัญชี ต้องทำ ต้องทำ N/A
8 ค่าบริการทำบัญชี เริ่มต้น 1,500 1,500 N/A
9 ค่าสอบบัญชี รายปี 8,000 5,000 ไม่มี
10 ความรับผิดชอบ เฉพาะที่จ่ายลงทุน เฉพาะที่จ่ายลงทุน ไม่จำกัด
11 ข้อบังคับทางกฏหมาย มาก มาก น้อย
12 เลิกกิจการ ยาก ยาก ง่าย
13 การควบคุมกิจการ ยาก ยาก ง่าย
จะสังเกต ได้ว่า การตั้งห้างฯหรือบริษัท ในรูปแบบทางบัญชีไม่ได้แตกต่างกัน ต้องจัดทำบัญชีเหมือนกัน เสียภาษีเหมือนกัน แตกต่างกันที่ จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในการตรวจสอบบัญชี เนื่องจากห้างฯ เราสามารถใช้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรเซ็นงบการเงินได้ แต่บริษัทฯ เราจะต้องใช้ผู้สอบบัญชีอิสระเซ็นงบการเงินเท่านั้น ศักดิ์ของผู้สอบบัญชีก็แตกต่างกัน ดังนั้นเงินที่ต้องจ่ายก็จะแตกต่างกันด้วย หากจะจะอธิบายว่าแตกต่างกันอย่างไร ต้องรอคำอธิบายในครั้งต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก :
http://atchonburi.com/accounting/content/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AE%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%97-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99