Author Topic: บทเรียนพื้นฐาน ภาษาญี่ปุ่น  (Read 14883 times)

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
บทเรียนพื้นฐาน ภาษาญี่ปุ่น
« on: มกราคม 09, 2013, 01:38:36 PM »
http://www.nhk.or.jp/lesson/thai/learn/list/3.html

ในการคบหากัน คนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญต่อ "ความสอดประสานกลมกลืนกัน" ในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคลเป็นอย่างยิ่ง และด้วยเหตุนี้ คนญี่ปุ่นจึงไม่ชอบที่จะทำให้เกิดรอยร้าวในความสัมพันธ์เพราะการปฏิเสธอย่างชัดแจ้ง เช่น เมื่อจะปฏิเสธคำเชิญชวนหรือคำแนะนำ จะเลี่ยงไปตอบด้วยการพูดว่า chotto... ซึ่งก็คือ "ออกจะ..." แล้วก็ละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า "ไม่สะดวก" คำว่า chotto ไม่ได้ใช้เฉพาะในการเรียกความสนใจเท่านั้น แต่ยังใช้ในเวลาที่อยากจะปฏิเสธด้วย เป็นสำนวนที่สะดวกมาก
แม้แต่ในสถานการณ์เกี่ยวกับธุรกิจ สำนวนอ้อม ๆ ก็ใช้บ่อย เช่น ในกรณีที่จะปฏิเสธข้อเจรจาทางธุรกิจกับคู่เจรจา สำนวนที่ใช้บ่อยคือ kentô shitemimasu ซึ่งมีความหมายว่า "จะลองพิจารณาดู" แต่จริง ๆ แล้ว มีความหมายว่า "กรุณาอย่าคาดหวังการตอบรับ" รวมอยู่ด้วย

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
Re: บทเรียนพื้นฐาน ภาษาญี่ปุ่น
« Reply #1 on: มกราคม 09, 2013, 01:42:45 PM »
はい、わかりました。

hai , wakarimashita

ครับ , เข้าใจแล้วครับ
« Last Edit: มกราคม 09, 2013, 01:58:59 PM by golfreeze »

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
Re: บทเรียนพื้นฐาน ภาษาญี่ปุ่น
« Reply #2 on: มกราคม 09, 2013, 01:58:45 PM »
ในการคบหากับคนในที่ทำงานหรือกับเพื่อนบ้าน เคยมีประสบการณ์ที่คนญี่ปุ่นโค้งก้มศีรษะให้ แล้วก็พูดว่า yoroshiku onegai shimasu ไหม สำนวน yoroshiku onegai shimasu ไม่ได้ใช้เป็นแค่คำทักทายเวลาแนะนำตัวเท่านั้น แต่ยังใช้เวลาขอร้องให้ใครทำอะไรให้อีกด้วย สำนวน yoroshiku onegai shimasu นี้ อาจใช้ลงท้ายเวลาเขียนอีเมลหรือจดหมายด้วย และอาจจะสงสัยใช่ไหมว่าจะขอร้องให้ทำอะไร อันที่จริง นี่ไม่ใช่การพูดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างชัดเจน แต่เป็นการพูดทักทายบ่งชี้ถึงธุระทั้งหมดที่สื่อความอยู่ในอีเมลหรือจดหมายด้วยการกล่าวว่า yoroshiku onegai shimasu อาจกล่าวได้ว่า นี่เป็นสำนวนที่แสดงความเป็นญี่ปุ่นอย่างมากสำนวนหนึ่ง เมื่อมีใครพูดกับเราว่า yoroshiku onegai shimasu ก็ตอบกลับไปเหมือน ๆ ว่า yoroshiku onegai shimasu

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
Re: บทเรียนพื้นฐาน ภาษาญี่ปุ่น
« Reply #3 on: มกราคม 09, 2013, 02:02:39 PM »
ในบริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่ เวลาทำงานคือ 9 โมงเช้าไปจนถึง 5 โมงเย็น ในระยะหลังมานี้ พนักงานสามารถกำหนดเวลาทำงานอย่างอิสระได้เองในระดับหนึ่งให้เป็นแบบยืดหยุ่นซึ่งการทำแบบนี้กำลังแพร่หลายขึ้น การกำหนดเวลาทำงานแบบยืดหยุ่นทำให้สามารถเลี่ยงชั่วโมงเร่งด่วนได้ และทำงานโดยปรับให้เข้ากับรูปแบบการดำเนินชีวิตได้ จึงเป็นที่นิยม
อย่างไรก็ตาม ขณะที่เพื่อนร่วมงานกับเจ้านายกำลังทำงานล่วงเวลากันอยู่ คนที่รู้สึกไม่ดี ถ้าตัวเองจะกลับก่อนเมื่อทำงานเสร็จแล้ว มีเป็นจำนวนมาก นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในความเป็นจริง ช่วงเวลาอย่างนั้น คือช่วงเวลาที่ไม่ควรจะลืมความรู้สึกเอาใจใส่ต่อเพื่อนร่วมงาน ควรจะกล่าวว่า o-saki ni shitsurei shimasu "ขอตัวก่อนนะครับ/นะคะ" แล้วค่อยออกจากบริษัท

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
Re: บทเรียนพื้นฐาน ภาษาญี่ปุ่น
« Reply #4 on: มกราคม 15, 2013, 04:49:15 PM »
 ยังจำประโยคเหล่านี้ได้หรือไม่

นี่คือแมว
This is a cat.
Kore wa neko desu.

ผมคือคนไทย
I am Thai.
Watashi wa Tai-jin desu.

ครับนี่คือประโยคบอกเล่าทั่วไปในภาษาญี่ปุ่น ที่สุดแสนจะง่าย
ทีนี้ เราจะเพิ่มความแอดวานซ์ให้กับภาษาญี่ปุ่นของเราไปอีกขั้นหนึ่ง
ด้วยการเปลี่ยนประโยคบอกเล่าสุดแสนจะธรรมดาเหล่านี้
ให้เป็นประโยคคำถาม

หากเป็นภาษาอังกฤษ เราอาจจะงงงวยว่าเอ๊ะ นี่ต้องสลับ verb to be กับ ประธานนะ
แต่ของไทยกับญี่ปุ่นนี่ง่ายมาก แทบจะเหมือนกันเลยทีเดียว คือการเติมคำแสดงคำถามเข้าไปด้านท้ายครับ

อย่างเช่น
หากว่าเราจะถามว่า
นี่คือแมวหรือเปล่า
นี่คือแมวเหรอ
นี่คือแมวใช่ไหม

หากว่าเราใช้ภาษาอังกฤษก็จะต้อง เปลี่ยนเป็น Is this a cat?
ยุ่งยากซากอ้อยพอสมควร (ตรงไหน???)

แต่เดี๋ยวก่อน ภาษาญี่ปุ่นง่ายกว่านั้นมาก

เพียงแค่คุณเติม ka เช่น
จาก
kore wa neko desu. นี่คือแมว
เปลี่ยนเป็น
kore wa neko desu ka. นี่คือแมวเหรอ

ง่ายมั้ยครับ
จำง่าย ๆ ได้เลยว่า ka = หรือ/เหรอ

สบายคนไทยไปแปดอย่าง

แล้วอย่างประโยคข้างบนอีกประโยคนึงล่ะ
ผมคือคนไทย
Watashi wa Tai-jin desu.
จะใช้คำว่าอะไร.......
เฉลย (ลาก) >> Watashi wa Tai-jin desu ka.

ถูกกันใช่ไหมครับ ง่ายจริงแท้แน่นอนไม่ได้โกหกแต่อย่างใด

ทีนี้นะครับ เวลาตอบคำถามแบบ Yes/No Question เช่นนี้ ก็ต้องตอบว่า

ใช่ หรือ ไม่ใช่ 
hai  หรือ iie (ไฮ่ หรือ อีเอะ)

สั้น ๆ แค่นั้นเองครับ
แต่ยังไม่พอ ถ้ากลัวว่าจะห้วนไป ก็ตอบให้ครบตามแบบหนังสือเรียนที่เคยร่ำเรียนกันมา ได้ว่า

ใช่ นี่คือแมว
hai, kore wa neko desu.

ไม่ใช่ นี่ไม่ใช่แมว
iie, kore wa neko dewa arimasen.

หรือจะแบบย่อ ๆ ก็ได้ว่า

ใช่ นั่นแหละ(ตามนั้นแหละ)
hai, sou desu.
คืออารมณ์ภาษาอังกฤษประมาณ Yes, it is.

หรือจะตอบว่า

ไม่ใช่ นี่คือหมา
iie, kore wa inu desu.

ทีนี้นะครับ เพื่อความให้ดูเป็นคำถามเวลาพูดลองให้เน้นเสียงและแอคติ้งนิดนึงนะครับ
เพื่อให้มันเป็นคำถาม ไม่ใช่คำบอกเล่า
งงมะ
อย่างภาษาไทยเนี่ยเวลาถามเนี่ย เราก็จะขึ้นเสียงสูงเช่น นี่คือแมวใช่มั๊ย เหรอ??? อย่างงี้เป็นต้น
เวลาถามเป็นภาษาญี่ปุ่นก็เช่นกัน เพื่อให้คนญี่ปุ่นสนใจมาตอบคำถามเรา (เรียกร้องความสนใจนิดนึง)
เวลาพูดก็ทำท่าขมวดคิ้วเยอะ ๆ หน้าเป็น Question Mark? อารมณ์ทำหน้าสงสัยสุดขีด ก็ลากเสียงขึ้นสูง ๆ ออกเสียงก๊ะ แล้วพูดว่า

วะตะชิ วะ ไท่จิน เดส ก๊ะ???

ลองดูนะครับ

วะตะชิ วะ ไท่จิน เดส ก๊ะ???

พูดเสร็จ รับรอง คนญี่ปุ่นจะทำหน้าแบบเดียวกับตอนเราถามทันที (เผลอ ๆ มากกว่า ตาลอย เอ๋อไปเลย)
แล้วก็จากเราไปโดยไม่พูดอะไร...

5555

แล้วพบกันใหม่ครับ

------------------------------

สรุปท้ายบท

เติม ka เพื่อให้เป็นคำถาม
ใช่ = hai
ไม่ใช่ = iie

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
Re: บทเรียนพื้นฐาน ภาษาญี่ปุ่น
« Reply #5 on: มกราคม 15, 2013, 04:49:34 PM »
 ตอนนี้ก็เป็นเรื่องต่อจากเรื่องแมว ประธาน กรรม กิริยา นะครับ

ว่าด้วยเรื่อง นี่ นั่น โน่น (หรือ นี้ นั้น โน้น แล้วแต่จังหวะการใช้)ครับ

เรามาทำความเข้าใจเล็ก ๆ ข้อตกลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับนี้ นั้น โน่นกันก่อนนะครับว่าสามคำนี้มันมีความหมายต่างกันยังไง

นี่  - หมายถึง ผู้พูดต้องการบ่งบอกถึงสิ่งที่อยู่ใกล้ผู้พูดครับ แต่อาจจะใกล้หรือไกลผู้ฟังก็ได้
นั่น - หมายถึง ผู้พูดต้องการบ่งบอกถึงสิ่งที่อยู่ไกลผู้พูด(ใกล้ผู้ฟัง)ครับ
โน่น - หมายถึง ผู้พูดต้องการบ่งบอกถึงสิ่งที่อยู่ไกลทั้งผู้พูดและผู้ฟัง(ไกลทั้งคู่)ครับ

ปกติผมใช้ ก็ไม่เคยคิดละเอียดขนาดนี้เลยนะเนี่ย ก็ใช้ ๆ ไปตามความเคยชิน แต่พออธิบายไวยากรณ์นี่ มีแบ่งให้ด้วย ก็รู้ไว้ตาม

นี่แหละคือความเสียใจ... เอ้ย ไม่เกี่ยว - -' (เกี่ยวอยู่นะ : ความเสียใจนี้ไกลตัวผู้ฟังครับ เพราะเป็นความเสียใจเกี่ยวกับตัวผู้พูด :O)

แต่เวลาใช้ก็ใช้ตามความเคยชินนะครับ ไม่ต้องคิดอะไรใกล้ไกลหรอก...
...แล้วข้างบนนี่จะอธิบายทำแมวอะไรฟระ

ทีนี้ก็มาถึงภาษาญี่ปุ่นบ้าง การใช้ความหมายก็เหมือนกันเด๊ะเลยครับ
แค่เปลี่ยนจาก นี่  เป็น ko
จาก นั่น เป็น so
จาก โน่น เป็น a

ส่วนเวลาเอามาใช้จริงเนี่ย ก็จะแบ่งเป็นชุด ๆ เพื่อความง่ายสะเด็ดดังนี้ครับ

1.

ชุด อัน - ใช้ระบุถึงสิ่งของ ต่าง ๆ
นี้,อันนี้ = kore
นั่น,อันนั้น = sore
โน่น,อันโน้น = are

Example:
kore wa neko desu. - นี่คือแมว
sore wa inu desu. - นั่นคือหมา
are wa miruku desu. -โน่นคือนม

ใครลืมศัพท์แล้ว ย้อนไปดูได้ที่บทที่ผ่านมานะครับ

2.

ชุด ที่
ที่นี่ - koko
ที่นั่น - soko
ที่โน่น - asoko (พิเศษนิดหน่อยครับ สงสัยคำว่า ako ธรรมจะไม่ลื่นหู เลยเปลี่ยนหน่อย)

Example:
koko wa depaato desu. ที่นี่คือห้างสรรพสินค้า
soko wa gakkou desu. ที่นั่นคือโรงเรียน
asoko wa Bankoku desu. ที่โน่นคือกรุงเทพ

3.

ชุด ~นี้,~นั้น,~โน้น
~นี้ = kono ~
~นั้น = sono ~
~โน้น = ano ~
ไอ้ ~ คือ Noun หรือคำนามนั่นเองครับ เอามาวางแปะไว้ข้างหลังได้เลย เช่น

Example:
kono hito wa Hayashi desu. คนนี้คือฮายาชิ
sono neko wa neko desu. แมวนั้นเป็นแมว
ano gakkou wa koukougakkou desu. โรงเรียนโน้นเป็นโรงเรียนมัธยมปลาย

เป็นไงบ้างครับ ยังง่ายนิดเดียวเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงเลยใช่ไหมล่ะ
วันนี้ก็สามารถชี้บอกสิ่งของ สถานที่ ได้แล้ว อย่างน้อยก็ช่วยไม่ให้อดตายได้
อย่างเวลาจะไปจิ้ม ๆ สั่งของ หรือจะเอาอะไรซักอย่าง อย่างจะไปสั่งข้าวราดแกงสามอย่างที่ญี่ปุ่น เอาพะโล้ กะเพรา แล้วก็ผัดหน่อไม้ ก็ชี้ ๆ ทีละอย่างแล้วพูดว่า kore kore kore (อันนี้ อันนี้ แล้วก็อันนี้) เท่านั้นแหละครับ สามอย่างลอยมาให้อิ่มอร่อยทันที!!!

แค่นี้ก็ไม่อดตายแล้วเรา

ปล.ที่ญี่ปุ่นมีด้วยเรอะร้านนั่นน่ะ!

----------------------------------------

คำศัพท์ใหม่

desu - คำสุภาพของคำว่า da (~verb to be, เป็น คือ)
depaato - ห้างสรรพสินค้า (มาจาก Department Store)
gakkou - โรงเรียน
koukougakkou - โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://lingvo.exteen.com/

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
Re: บทเรียนพื้นฐาน ภาษาญี่ปุ่น
« Reply #6 on: มกราคม 15, 2013, 04:49:49 PM »
 Verb to be...

เคยพบปัญหาเหล่านี้เวลาเรียนภาษาอังกฤษหรือเปล่า
verb to be มีมากมาย เช่น

is,am,are,was,were,be

ต้องเลือกใช้คำให้ถูกเหมาะสมกับประธานของประโยคและต้องดูว่าเป็นประธานพหูพจน์กับเอกพจน์ด้วย
ปวดหัวจังเลย ๆ

ภาษาญี่ปุ่นช่วยท่านได้!!!

ด้วยการใช้ da แทน เป็น,คือ ได้เลยในทันที
โดยไม่ต้องไปมีความสัมพันธ์ใด ๆ กับไอ้ตัวประธานเลยครับ

ง่าย ๆ อย่างเช่น

I am Haku.
ผมคือฮาคุ
watashi wa haku da.

You are a teacher.
คุณเป็นครู
anata wa sensei da.

เห็นไหมครับ ง่ายจริง ๆ ด้วย ใช้แค่ da ตลอดเวลาไม่ว่าสองภาษานี้(eng thai) จะใช้อะไรก็ตาม

แล้วก็ ถ้าจะให้สุภาพขึ้น เราสามารถใช้คำว่า desu แทน da ได้ เช่น
watashi wa haku desu.
ผมคือฮาคุ(ครับ/ค่ะ)

ทีนี้เวลาจะใช้รูปปฏิเสธเราก็เพียงเปลี่ยนจาก da -> เป็น janai

Example

I am not Haku.
ผมไม่ใช่ฮาคุ
watashi wa haku janai

You are not a teacher.
คุณไม่ได้เป็นครู
anata wa sensei janai

ส่วนรูปสุภาพของ janai ก็คือ dewa arimasen (ยาวโคตร ๆ)

.

เหมือนเดิมเลยไม่เปลี่ยนแปลง ไม่แปรเปลี่ยน ภาษาไทยยังมีพลิกแพลง จาก คือ กลายเป็น ไม่ใช่ จาก เป็น กลายเป็น ไม่ได้เป็น (คนต่างชาติมาเรียนคงงง ทำไมจาก คือ ถึงไม่เปลี่ยนเป็น ไม่คือ) แต่ภาษาญี่ปุ่นนั้นยังเหมือนเดิม ฮา

เท่านี้เราก็สามารถใช้ Verb to be ซึ่งง่าย ๆ แบบญี่ปุ่นได้แล้วครับ

สรุปท้ายบท
da = เป็น,คือ
desu = เป็น,คือ (+ ครับ/ค่ะ)
janai = ไม่เป็น,ไม่ใช่
dewa arimasen = ไม่เป็น,ไม่ใช่ (+ ครับ/ค่ะ)


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://lingvo.exteen.com/