Author Topic: ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Raid 0 , 1 ,5 ,6  (Read 74357 times)

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
RAID ที่นิยมกันก็มี 0 , 1 , 5 , 0+1 , 1+0 เท่านั้นเอง บางคนอาจสงสัยว่า มีด้วยเหรอ RAID 1+0
อ่านต่อกันนะครับ

คำอธิบาย Logic Drive หมายถึง Drive ที่สร้างขึ้นมาจาก RAID นะครับ

RAID 0
RAID 0 เป็นแบบที่ง่ายและเป็นพื้นฐานที่สุดเลย คือ ทำการรวม HDD 2 ตัว (หรือมากกว่า) ให้กลายเป็น HDD
ตัวเดียวกัน (เรียกว่า Logic Drive) เช่น ถ้ามี HDD 40G 2 ตัว ตัวแรกจะเป็น C อีกตัวก็จะเป็น D
เมื่อเราแปลงเป็น RAID 0 เนื้อที่ของทั้ง 2 ตัวก็จะรวมกันเป็น Drive เดียวกัน ชื่อ C มีขนาด 80G
โดยเมื่อแปลงเป็น RAID 0 แล้ว OS และโปรแกรมต่างๆ ก็จะมอง Drive ใหม่นี่ เสมือนเป็น Drive
เดีวยวกันที่สามารถอ่านเขียนข้อมูลต่างๆ ได้ตามปกติ
ข้อดี คือ ทำให้การอ่านหรือเขียนข้อมูลเร็วขึ้นมาก เพราะมีหัวอ่าน/เขียนข้อมูลเพิ่มมากขึ้น (ในระบบ
SCSI
นะครับ ถ้า IDE หัวอ่านเพิ่มขึ้น ก็ไม่เร็วขึ้นหรอก ไปอ่านที่ อันแรกก็ได้ครับ)
และมันยังขยายเนื้อที่สำหรับเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้นด้วย
ข้อเสีย เนื่องจากมันไม่ได้ทำการสำรองข้อมูลเลย หรือแม้แต่ Parity Bit มันก็ไม่ได้ทำ (แม้แต่นิดเดียว)
ถ้า HDD ตัวไหนเสีย มันจะทำให้ Logic Drive ที่เราสร้างขึ้น เสียไปทั้งหมด ข้อมูลของเราก็จะหมดไปด้วย
(เศร้า)

RAID 1
RAID 1 ต่างจาก RAID 0 แบบว่า หน้ามือเป็นหลังมือเลย เนื่องจาก RAID 1 จะเก็บข้อมูลทั้งหมดลง HDD
ตัวแรก
เหมือนการใช้งานทั่วๆ ไป แต่จะมี HDD ตัวที่สองเพิ่มเข้ามา เราเรียก HDD ตัวนี้ว่า MIRRORING หรือ
DUPLEXED โดยที่ HDD ตัวทั่สองนี้ จะทำการสำรองข้อมูลจากตัวแรก เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล
โดยมีข้อกำหนดว่า HDD ทั้ง 2 ตัว ต้องขนาดเท่ากันพอดี ถ้าเป็นไปได้ ควรจะเป็นยี่ห้อ
และรุ่นเดียวกันด้วย
ข้อดี อย่างที่เห็นล่ะครับ ข้อมูลจะถูกสำรองไว้ตลอดเวลา ไม่ต้องกลัวว่าจะหายเลย ถ้า HDD ตัวไหนเสีย
อีกตัวก็จะขึ้นมาทำงานแทนทันที ถ้าเป็น Server ที่มีระบบ Hot Swap เราสามารถถอด HDD ตัวที่เสีย
ไปเปลี่ยน แล้วเอาตัวใหม่มาใส่ได้ทันที โดยไม่ต้องปิดเครื่องเลย เมื่อเราเอา HDD ตัวใหม่มาใส่
ระบบก็จะทำการสำรองข้อมูลไปที่ HDD ตัวใหม่เอง โดยอัตโนมัติ และข้อดีอีกอย่างคือ
มันสามารถเลือกที่จะอ่านข้อมูลจาก HDD ตัวไหนก็ได้ ทำให้มันอ่านข้อมูลได้เร็วขึ้น
ข้อเสีย เนื่องจากมันต้องเขียนข้อมูลลง HDD ถึง 2 ตัวต่อข้อมูล 1 ชุด
ทำให้ภาระในการเรียนข้อมูลมีมากขึ้นเป็น 2 เท่าเลย ทำให้เวลาในการเขียนข้อมูลมากกว่าปกติ
และระบบนี้ใช้เงินเยอะพอสมควร เพราะต้องใช้ HDD 2 ชุด ต่อข้อมูล 1 ชุด

RAID 0 + 1
RAID 0+1 คือการนำข้อดีของ RAID 0 และ RAID 1 มารวมกัน ทำให้มีการรวมเนื้อที่จาก HDD หลายๆ
ตัวเข้าด้วยกัน ละมีการทำสำเนาไปพร้อมกันด้วย โดยต้องนำ HDD มาแปลงเป็น RAID 0 จำนวน 2 ชุดก่อน
ทำให้ได้
Logic Drive ที่มีเนื้อที่ของ HDD มารวมกัน แล้วจึงสร้าง RAID 1 ขึ้นมาอีกทีจาก Logic Drive ทั้ง 2 ชุด
ข้อเสีย เปลือง HDD อย่างมาก และถ้า HDD ตัวไหนเสียไป อาจทำให้ Logic Drive เสีย และเจ้งทั้งระบบ

RAID 1 + 0
RAID 1+0 มีการทำงานเหมือนกับ RAID 0+1 เพียงแต่จะเริ่มสร้าง RAID 1 มาก่อน 2 ชุด
เพื่อทำการสำรองข้อมูลกันก่อน แล้วค่อยสร้าง RAID 0 ขึ้นมาอีกที เพื่อรวมข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน
วิธีนี้เป็นที่นิยมมากกว่า RAID 0+1 อีกนะ (ผมก็ใช้ตัวนี้)
ข้อดี ถ้า HDD ตัวไหนเสีย จะไม่ทำให้ Logic Drive เสียไปด้วย
ข้อเสีย เปลือง HDD มากกว่า RAID 0+1 อีก ;-(

RAID 5
RAID 5 ได้นำข้อดีของ RAID แบบต่างๆ มารวมไว้ในตัวเอง คือ ราคา ประสิทธิภาพ
และความสามารถในการป้องกันข้อมูลสูญหาย เพราะ RAID แบบต่างๆ จะมีข้อดีไม่ครบทั้งหมด
คืออย่างมากก็ได้แค่
2 ใน 3 อย่าง RAID 1+0 ประสิทธิภาพดี ป้องกันข้อมูลได้ แต่แพงโคตร RAID 5 ต้องการ HDD 3 ตัวในการทำงาน
โดยนำเนื้อที่ของ HDD แต่ละตัวมาเก็บรวมกันเป็น 1 Logic Drive เหมือนการทำงานของ RAID 0 แล้วสร้าง
Parity Bit เพื่อใช้xxx้ข้อมูลของแต่ละ Drive ขึ้นมาโดยแยกออกไปเขียนใน Drive อื่นๆ เช่น Parity Bit
ของ
HddA จะนำไปไว้ที่ HddC ของ HddC ก็จะนำไปไว้ที่ HddB ส่วนของ HddB ก็จะนำไปไว้ที่ HddA วนกันไป 555
ข้อดี ข้อมูลไม่หายแน่นอน เพราะมีการเก็บ Parity ไว้ใน HDD แต่ละตัว แล้วความเร็วในการอ่านข้อมูล
ก็เยอะมากๆ ด้วย เนื่องจากมี HDD ถึง 3 ตัวนี่
ข้อเสีย เขียนข้อมูลได้ช้ามากๆ เนื่องจากต้องเขียนข้อมูลแล้ว ยังต้องไปเขีนยน Parity อีก
แล้วยังต้องใช้
HDD ถึง 3 ตัว ซึ่งเปลืองมาก (แต่ก็น้อยกว่า RAID 1+0) และอัตราความเร็วในการเขียนข้อมูลก็ช้ามากๆ
« Last Edit: พฤษภาคม 07, 2013, 09:55:13 AM by golfreeze »

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
Re: ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Raid 0 , 1 ,5 ,6
« Reply #1 on: มกราคม 23, 2011, 12:36:05 AM »
RAID 1
RAID 1 มีอีกชื่อหนึ่งว่า disk mirroring จะประกอบไปด้วย harddisk 2
ตัวที่เก็บข้อมูลเหมือนกันทุกประการ
เสมือนการสำรองข้อมูล หาก harddisk ตัวใดตัวหนึ่งเกิดเสียหาย ระบบก็ยังสามารถดึงข้อมูลจาก harddisk
อีกตัวหนึ่งมาใช้งานได้ตามปกติ สำหรับ RAID controller ที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดีแล้ว การเขียนข้อมูลลง
harddisk 2 ตัวในเวลาเดียวกัน จะใช้เวลาพอๆ กับการเขียนข้อมูลลง harddisk ตัวเดียว
ในขณะที่เวลาในการอ่านก็จะน้อยลง เพราะ RAID controller จะเลือกอ่านข้อมูลจาก harddisk ตัวไหนก็ได้
โดยหากมีคำสั่งให้อ่านข้อมูล 2 ชุดในเวลาเดียวกัน ตัว RAID controller
ก็สามารถประมวลผลคำสั่งเพื่ออ่านข้อมูลจาก harddisk ตัวหนึ่ง และคำสั่งอีกชุดนึงจาก harddisk
อีกตัวนึงก็ได้

จุดเด่นของ RAID 1 คือความปลอดภัยของข้อมูล ไม่เน้นเรื่องประสิทธิภาพและความเร็วเหมือนอย่าง RAID 0
แม้ว่าประสิทธิภาพในการอ่านข้อมูลของ RAID 1 จะสูงขึ้นก็ตาม

RAID 2
ใน RAID 2 นี้ ข้อมูลทั้งหมดจะถูกตัดแบ่งเพื่อจัดเก็บลง harddisk แต่ละตัวใน disk array โดยจะมี
harddisk ตัวหนึ่งเก็บข้อมูลที่ใช้ตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาด (ECC - Error Checking and Correcting)
ซึ่งเป็นการลดเปอร์เซ็นต์ที่ข้อมูลจะเสียหายหรือสูญเสียไป เมื่อมีการส่งข้อมูลไปบันทึกใน disk array
จะเห็นได้ว่ามี harddisk ที่เอาไว้เก็บค่า ECC โดยเฉพาะ ถ้าเกิดการปรากฏว่า harddisk
ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย ระบบก็จะสามารถสร้างข้อมูลทั้งหมดใน harddisk ตัวนั้นขึ้นมาได้ใหม่
โดยอาศัยข้อมูลจาก harddisk ตัวอื่นๆ และจากค่า ECC ที่เก็บเอาไว้ ซึ่งการทำ ECC นี้ส่งผลให้ harddisk
ทั้งระบบต้องทำงานค่อนข้างมากทีเดียว และ RAID 2 นั้นจะเห็นได้ว่าต้องใช้ harddisk
จำนวนมากในการเก็บค่า
ECC ซึ่งทำให้ค่อนข้างสิ้นเปลืองครับ

RAID 3
RAID 3 มีลักษณะที่คล้ายกับ RAID 2 แต่แทนที่จะตัดแบ่งข้อมูลในระดับ bit เหมือน RAID 2
ก็จะตัดเก็บข้อมูลในระดับ byte แทนและการตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูล จะใช้ parity แทนที่จะเป็น
ECC ทำให้ RAID 3 มีความสามารถในการอ่านและเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีการต่อ harddisk
แต่ละตัวแบบ stripe และใช้ harddisk ที่เก็บ parity เพียงแค่ตัวเดียวเท่านั้น แต่ถ้านำ RAID 3
ไปใช้ในงานที่มีการส่งผ่านข้อมูลในจำนวนที่น้อยๆ ซึ่ง RAID 3 ต้องกระจายข้อมูลไปทั่วทั้ง harddisk
จะทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า คอขวด ขึ้นกับ harddisk ที่เก็บ parity
เพราะไม่ว่าข้อมูลจะมีขนาดใหญ่ขนาดไหน RAID 3 ต้องเสียเวลาไปสร้างส่วน parity ทั้งสิ้น
ยิ่งข้อมูลมีขนาดเล็กๆ แต่ parity ต้องสร้างขึ้นตลอด ทำให้ข้อมูลถูกจัดเก็บเสร็จก่อนการสร้าง parity
ทั้งระบบต้องมารอให้สร้าง parity เสร็จก่อน จึงจะทำงานต่อไปได้นั่นเอง

RAID 3 เหมาะสำหรับใช้ในงานที่มีการส่งข้อมูลจำนวนมากๆ เช่นงานตัดต่อ Video เป็นต้น

RAID 4
RAID 4 มีลักษณะโดยรวมเหมือนกับ RAID 3 ทุกประการ ยกเว้นเรื่องการตัดแบ่งข้อมูลที่ทำในระดับ block
แทนที่จะเป็น bit หรือ byte ซึ่งทำให้การอ่านข้อมูลแบบ random ทำได้รวดเร็วกว่า อย่างไรก็ตาม
ปัญหาคอขวดที่กล่าวใน RAID 3 ก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นเหมือนเดิมครับ

RAID 5
มีการตัดแบ่งข้อมูลในระดับ block เช่นเดียวกับ RAID 4 แต่จะไม่ทำการแยก harddisk
ตัวใดตัวหนึ่งเพื่อเก็บ
parity ในการเก็บ parity ของ RAID 5 นั้น จะกระจาย parity ไปยัง harddisk ทุกตัว
โดยปะปนไปกับข้อมูลปกติ
จึงช่วยลดปัญหาคอขวด ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญใน RAID 3 และ RAID 4 คุสมบัติอีกอันหนึ่งที่น่าสนใจของ RAID
5 คือ เทคโนโลยี Hot Swap คือเราสามารถทำการเปลี่ยน harddisk
ในกรณีที่เกิดปัญหาได้ในขณะที่ระบบยังทำงานอยู่ เหมาะสำหรับงาน Server ต่างๆ ที่ต้องทำงานต่อเนื่อง

RAID 6
RAID 6 อาศัยพื้นฐานการทำงานของ RAID 5 เกือบทุกประการ แต่มีการเพิ่ม parity block เข้าไปอีก 1 ชุด
เพื่อยอมให้เราทำการ Hot Swap ได้พร้อมกัน 2 ตัว (RAID 5 ทำการ Hot Swap ได้ทีละ 1 ตัวเท่านั้น หาก
harddisk มีปัญหาพร้อมกัน 2 ตัว จะทำให้เสียทั้งระบบ) เรียกว่าเป็นการเพิ่ม Fault Tolerance ให้กับระบบ
โดย RAID 6 เหมาะกับงานที่ต้องการความปลอดภัยและเสถียรภาพของข้อมูลที่สูงมากๆ

RAID 7
RAID 7 อาศัยพื้นฐานการทำงานของ RAID 4 โดนเพิ่มคุณสมบัติบางอย่างเข้าไป เพื่อทำให้ harddisk
แต่ละตัวทำงานอิสระต่อกัน ไม่จำเป็นต้องรอให้ harddisk ตัวใดตัวหนึ่งทำงานเสร็จก่อน
(ซึ่งทำให้เกิดปัญหาคอขวดใน RAID 4) โดยการส่งข้อมูลแต่ละครั้ง จะทำการส่งผ่าน X-Bus
ซึ่งเป็นบัสที่มีความเร็วสูง RAID 7 ยังมีหน่วยความจำแคชหลายระดับในตัว RAID Controller
เพื่อแยกการทำงานให้อิสระต่อกัน โดยจะมี Real-Time Operating System อยู่ภายในส่วนที่เรียกว่า Array
Control Processor ทำหน้าที่ควบคุมการส่งข้อมูลบนบัส

RAID 7 เหมาะสำหรับใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ เชื่อมต่อได้สูงสุดถึง 12 host 48 drives และราคาของระบบ RAID 7
ค่อนข้างที่จะสูงมาก ด้วย RAID 7 เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของบริษัท Storage Computer Corporation
ทำให้ผู้ใช้งาน RAID 7 ไม่สามารถปรับแต่งอะไรกับเครื่องเลย ทำให้ RAID 7 ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก

RAID 10
RAID 10 หรือ RAID 0+1 เป็นการผสมผสานระหว่าง RAID 0 และ RAID 1 เข้าด้วยกัน
ทำให้การเข้าถึงข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และมีการทำ mirror ข้อมูล (backup ข้อมูล) ไปด้วย
ข้อเสียของ RAID 10 คือการเพิ่มจำนวน harddisk ในอนาคตเป็นไปได้ยาก เพราะ harddisk แต่ละตัวมี mirror
เป็นของตัวเอง ยิ่งเพิ่ม harddisk เพื่อใช้งานก็ต้องเพิ่ม harddisk เพื่อ backup ไปด้วย เหมาะสำหรับ
Server ที่ต้องการความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลค่อนข้างมาก และไม่ต้องการความจุมากนัก

RAID 53
RAID 53 มีอัตราความเร็วการเข้าถึงข้อมูลค่อนข้างสูง เพราะมีพื้นฐานการทำงานของ RAID 0 อยู่
และมีการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ เหมือน RAID 3 ซึ่งแน่นอนว่ายังมีปัญหาคอขวดด้วย นอกจากนี้
RAID 53 ยังสามารถทำ Hot Swap ได้เหมือนใน RAID 5 ครับ

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
Re: ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Raid 0 , 1 ,5 ,6
« Reply #2 on: มกราคม 23, 2011, 12:36:29 AM »
ส่วนประกอบของ RAID

RAID Controller

ตัวควบคุมระบบ RAID นั้นใช้ได้ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ หรือใช้รวมกันก็ได้ ซอฟต์แวร์เช่น Windows NT
4.0 สนับสนุน RAID ระดับ 0 ,1 (Striping , Mirroring) และฮาร์ดแวร์จากผู้ผลิตรายต่างๆ
ซึ่งมีอยู่มากหลากหลาย เช่น Asustek , Adaptec , DCT ,MTI
ซึ่งฮาร์ดแวร์เหล่านั้นมีราคาอยู่ในระหว่างสองหมื่นถึงเป็นล้านบาท

กรณีใช้ซอฟต์แวร์เป็น RAID Controller จะมีข้อจำกัดคือ ระดับที่สนับสนุน คือ 0, 1 (Striping ,
Mirroring) นั้นยังไม่ครอบคลุมระดับ Data Protection ในเรื่องของพาริตี้ ซึ่งมีใน RAID ระดับ 3,5
และใช้กำลังจากโปรเซสเซอร์ ทำให้โปรเซสเซอร์มีเวลาจะไปประมวลผลงานอื่นๆ น้อยลง การใช้ซอฟต์แวร์ควบคุม
มีข้อดีคือ ราคาถูกกว่า ไม่ต้องการอุปกรณ์เพิ่มเติมมากนัก

ส่วนฮาร์ดแวร์ โดยมากจะได้รับการออกแบบที่ดี แต่ฮาร์ดแวร์ก็มีข้อแตกต่างระหว่างยี่ห้อต่างๆ คือ
ประสิทธิภาพในการทำงานแตกต่างกันออกไป การติดตั้งยากกว่าซอฟต์แวร์ควบคุม
และราคาการลงทุนค่อนข้างสูงกว่า
เพราะต้องการอุปกรณ์เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดดิสก์ เคสสำหรับฮาร์ดดิสก์ โดยเฉพาะระบบ "Hot
Swap" แต่ผลของการลงทุนก็คุ้มค่า (เกี่ยวกับ Hardware RAID Controller ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก
รู้จักกับ Raid Controller)



ฮาร์ดดิสก์ที่นำมาต่อเป็น Array (Physical Drive)

คือฮาร์ดดิสก์ที่นำมาต่อเข้าเพื่อใช้กับระบบที่จะใช้ RAID จำนวนของฮาร์ดดิสก์นั้น
ขึ้นอยู่กับระดับของ RAID ที่เลือกใช้งาน



ไดรฟ์อะไหล่ (Spare Drive)

เป็นฮาร์ดดิสก์ที่นำมาติดตั้งไว้เป็น "อะไหล่" เผื่อว่าฮาร์ดดิสก์ตัวอื่นๆ ที่ใช้ในระบบ
RAID เกิดชำรุดเสียหาย โดยปกติเมื่อไดรฟ์ตัวใดตัวหนึ่งในระบบเกิดเสียหาย ไดรฟ์ที่เป็น
"อะไหล่" จะถูกสลับเข้าไปใช้งานแทนที่โดยอัตโนมัติทันที



ไดรฟ์ชำรุด (Failed Drive)

ฮาร์ดดิสก์ที่ชำรุดเสียหาย เช่นมี Bad Sector หรือตัวระบบกลไกการทำงานเสียหาย
หรือไม่ตอบสนองต่อการทำงานของ Host SCSI ไดรฟ์พวกนี้ถือเป็น "ไดรฟ์ชำรุด"
จะต้องเอาออกและเปลี่ยนไดรฟ์ดีเข้าไปใหม่



ไดรฟ์ตรรกะ (Logical Drive)

เหมือนกับระบบดอสธรรมดา คือ ไม่ใช่ไดรฟ์จริง เป็นเพียงไดรฟ์สมมุติ แต่ใน RAID ไดรฟ์ตรรกะนั้น
เกิดจากการรวมเอาไดรฟ์อื่นๆ มารวมกัน ให้เกิดความจุสูงขึ้น

Logical Volume
ไม่อยากแปลเป็นไทย เอาเป็นแบบเดิม คงความหมายดีกว่า เมื่อต้องการ "ก้อน"
ของฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุมากขึ้น ทำได้โดยการนำเอา "Logical Drive" มารวมเข้าด้วยกันเป็น
Logical Volume นั้นเอง



การจัดการ RAID

เมื่อกล่าวถึงการจัดการ RAID ก็เสมือนว่าเรากำลังคุยกันเกี่ยวกับเทคโนโลยี
"การจัดเก็บข้อมูล" หรือ Storage Technology ซึ่งมีสองส่วนด้วยกันคือ การเลือกระดับของ
RAID ที่เหมาะสมกับการใช้งาน และการจัดการกับไดรฟ์ที่เสียหาย



การเลือกระดับ RAID ที่เหมาะสม

RAID แต่ละระดับมีความเหมาะสมเกี่ยวกับการใช้งาน และความต้องการฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์
ฮาร์ดดิสก์แตกต่างกัน ดูอ้างอิงได้จากระดับของ RAID ซึ่งกล่าวไว้คร่าวๆ เกี่ยวกับระดับของ RAID
และการใช้งาน



การจัดการไดรฟ์เสีย

การจัดการกับไดรฟ์เสีย ไม่ได้หมายถึงว่า ฮาร์ดดิสก์เสียแล้ว ถึงค่อยคิดว่า จะจัดการอย่างไร แต่หมายถึง
จะทำอย่างไรกับ "ระบบเผื่อเสีย" หาฮาร์ดดิสก์มา Standby หรือเปิดไว้รอ
เหมือนเตรียมยางรถยนต์อะไหล่ติดไว้ที่ท้ายรถ? อะไหล่หรือ Spare นี่เป็นของ "เผื่อเสีย"
แน่นอน คิดอยากมีระบบ "เผื่อเสีย" ก็ต้องลงทุนบ้าง สำหรับ RAID ก็เช่นเดียวกัน
ต้องลงทุนซื้อไดรฟ์มาไว้ เรียกว่าเป็น Spare Drive ซึ่งมีทั้ง Global Spare Drive และ Local Spare
Drive เป็นสองกลุ่ม ความแตกต่างคือ Local Spare Drive จะเป็นอะไหล่สำหรับ Local Drive เพียงตัวเดียว
(แยกให้ออกนะครับ Local Drive ตัวเดียวหมายถึง 1 "ก้อน" หรือ 1 Volume ซึ่งจะรวมได้หลายๆ
Physical Drive เพราะ Local Drive ในระบบเครือข่าย แตกต่างจาก Local Drive ของพวกเครื่องพีซี) แต่
Global Spare Drive นั้นเป็นอะไหล่สำรองสำหรับ Local Drive 2 ก้อนขึ้นไป



การระบุว่าไดรฟ์ไหนเสีย และการวิเคราะห์อาการเสีย เป็นเทคนิคการออกแบบ RAID Controller
ที่ผู้ผลิตรายต่างๆ ต่างก็แข่งขันกันพัฒนา เพราะโดยคุณสมบัติการออกแบบฮาร์ดดิสก์แบบ SCSI แล้ว
เป็นไปได้ยากที่ RAID Controller จะตรวจสอบว่าไดรฟ์ไหนเสีย
แต่ระบบการตรวจสอบที่เกิดจากการพัฒนาร่วมกันของผู้ผลิต RAID และผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์
ที่มีชื่อเทคโนโลยีว่า SAF-TE ก็ทำให้การวิเคราะห์
และวินิจฉัยอาการเสียของฮาร์ดดิสก์เป็นไปได้ง่ายขึ้น



การจัดการกับไดรฟ์เสีย ยังมีระบบสนับสนุนหรืออำนวยความสะดวก ซึ่งทำงานสอดคล้องกับระบบ RAID Controller
อีกส่วนหนึ่งคือ Hot Plug Drive, Hot Swap Drive Bay
ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์โดยอไม่ต้องปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์ก่อน
และเมื่อเปลี่ยนแล้วนอกจากสามารถใช้งานได้ทันทีแล้ว หากใช้ระบบ RAID ก็สามารถ "Rebuild"
คือ สร้างระบบ RAID ในฮาร์ดดิสก์ก้อนใหม่ได้ทันที









การเพิ่มขนาดของ Logical Volume

ขนาดของ Logical Drive นั้น ขึ้นกับความจุและจำนวนของฮาร์ดดิสก์ที่นำมาเพิ่มในระบบ RAID โดยปกติระบบ
RAID จะระบุไว้ว่า กรณีใช้ฮาร์ดแวร์ในการควบคุม
ฮาร์ดดิสก์ทั้งหมดที่นำมาเพิ่มในระบบจะต้องมีความจุเท่ากัน การเพิ่มขนาดของ Logical Drive
ทำได้โดยการเพิ่มฮาร์ดดิสก์ SCSI เข้าไปในระบบ



ถ้าเป็นระบบ RAID เก่าๆ การเพิ่มขนาดของ Logical Drive ทำได้โดยการสำรองข้อมูลทั้งหมด
หลังจากนั้นปิดระบบ (ปิดเฉพาะระบบที่ใช้ RAID) ติดตั้งฮาร์ดดิสก์เพิ่มเติมเข้าไปในระบบ และ Config RAID
หรือการสร้าง RAID ขึ้นใหม่ วิธีการนี้มีข้อด้อยคือ ใช้เวลาในการดำเนินใหม่
และต้องการผู้เชี่ยวชาญ เพราะในระบบเครือข่าย ถ้าหากต้องมีการ "ติดตั้งระบบใหม่"
นั้นหมายถึง การ Config ระบบใหม่ทั้งหมด



แต่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ RAID ใหม่ๆ นั้น ใช้หลักการของ Dynamic System Expansion
การขยายขนาดของระบบโดยวิธีการง่ายกว่าเดิม โดยวิธีนี้ต้องใช้กับระบบ RAID ที่เป็น RAID Hardware
Controller เท่านั้น โดยเมื่อเพิ่มฮาร์ดดิสก์เข้าไปในระบบ (จะเป็น Hot Plug หรือ Non Hot-Plug) ก็ได้
หลังจากนั้นใช้ฟังก์ชันในการตรวจจับ (SCSI Harddisk SCAN)
เพื่อตรวจสอบว่ามีฮาร์ดดิสก์ใหม่ถูกติดตั้งเข้าไปในอะเรย์ หลังจากนั้นก็ใช้ฟังก์ชันในการเพิ่มขนาด
Logical Volume โดยการ Assign ฮาร์ดดิสก์ใหม่เข้ากับระบบอะเรย์ เพียงไม่กี่นาทีก็เพิ่มขนาดของ Logical
Volume ได้



การจัดการและตรวจสอบโดย RAID Controller

ฮาร์ดแวร์ RAID Controller ที่ผลิตโดยผู้ผลิตหลายๆ รายๆ มีกลวิธีในการตรวจสอบระบบ DISK Array
โดยเริ่มจากการตรวจสอบตัวคอนโทรลเลอร์เอง ไปจนถึงการตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ที่เป็นสมาชิกอะเรย์
ได้แก่การตรวจสอบ disk / PSU / Power / Over-Temp แล้วแสดงค่าความผิดพลาด
พร้อมทั้งแจ้งเตือนกรณีที่ความผิดพลาดนั้น ถือเป็นความผิดพลาดระดับวิกฤติ

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
Re: ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Raid 0 , 1 ,5 ,6
« Reply #3 on: พฤษภาคม 07, 2013, 10:06:28 AM »
เวบไว้คำนวณ iops และ harddisk size ของ raid แต่ละประเภทครับ
http://www.wmarow.com/strcalc/strcalc.html

whitevampire66

  • Newbie
  • *
  • Posts: 2
    • View Profile
Re: ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Raid 0 , 1 ,5 ,6
« Reply #4 on: พฤษภาคม 10, 2013, 04:52:58 PM »
ขอบคุณมากจ้า  :)