Author Topic: ความหมายของ PDCA คืออะไร สำคัญอย่างไร พัฒนาอย่างไร ยังไง  (Read 38361 times)

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
พวกเราทุกคนเคยได้ยินคำว่า PDCA กันหรือเปล่าครับ อาจจะเคยคุ้นหูเมื่อครั้งเริ่มงานใหม่ๆ อาจจะถูกหัวหน้าบอกไว้ว่า ทำงานให้ดีต้องทำ PDCA ด้วย
ซึ่งหลายคนก็อาจจะสงสัยได้ เพราะไม่รู้ว่าทำ PDCA ไปเพื่ออะไร พอทำงานไปสักพักก็จะรู้ด้วยตัวเองจริงๆ ว่า PDCA นั้นหนีไม่ได้
ถ้าอยากจะทำงานแบบมืออาชีพ ให้งานสามารถเดินหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพไม่ว่าจะเป็นการทำ PDCA
ในระดับองค์กร หรือ PDCA ในระดับส่วนตัว แล้ว PDCA นี้มันคืออะไรกัน  หากลองเปิดจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (Wiki)  จะพบความหมายดังนี้

PDCA หรือที่เรียกว่าวงจรเดมิง (อังกฤษ: Deming Cycle) หรือวงจรชูฮาร์ต (Shewhart Cycle) คือวงจรการควบคุมคุณภาพ

ความหมายของ PDCA

PDCA  คือ  วงจรที่พัฒนามาจากวงจรที่คิดค้นโดยวอล์ทเตอร์  ซิวฮาร์ท(Walter Shewhart )ผู้บุกเบิกการใช้สถิติสำหรับวงการอุตสาหกรรมและต่อมาวงจรนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเมื่อ เอดวาร์ด เดมมิ่ง (W.Edwards Deming) ปรมาจารย์ด้านการบริหารคุณภาพเผยแพร่ให้เป็นเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงกระบวนการทำงานของพนักงานภายในโรงงานให้ดียิ่งขึ้น และช่วยค้นหาปัญหาอุปสรรคในแต่ละขั้นตอนการผลิตโดยพนักงานเอง จนวงจรนี้เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า “วงจรเด็มมิ่ง” ต่อมาพบว่า แนวคิดในการใช้วงจร PDCA นั้นสามารถนำมาใช้ได้กับทุกกิจกรรม     จึงทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นทั่วโลก   PDCA เป็นอักษรนำของศัพท์ภาษาอังกฤษ   4  คำคือ

P : Plan        =     วางแผน
D : Do         =     ปฏิบัติตามแผน
C : Check     =     ตรวจสอบ / ประเมินผลและนำผลประเมินมาวิเคราะห์
A : Action     =     ปรับปรุงแก้ไขดำเนินการให้เหมาะสมตามผลการประเมิน

การนำกระบวนการ PDCA ไปประยุต์ใช้ในการทำแผนเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายในการประกันคุณภาพของคณะ

Plan (วางแผน)

หมายถึง การวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบ ครอบคลุมถึงการกำหนดหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน อาจประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน Plan การจัดอันดับความสำคัญของ เป้าหมาย กำหนดการดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน กำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ดำเนินการและกำหนดงบประมาณที่จะใช้ การเขียนแผนดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของลักษณะ การดำเนินงาน การวางแผนยังช่วยให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต และช่วยลดความสูญเสียต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้
ฉะนั้น  P เราจะต้องมีแผน
       1.วัตถุประสงค์เหมาะสม และสอดคลองกับแผนของคณะ/พันธกิจหรือไม่
       2.มีการกำหนดผู้รับผิดชอบหรือไม่ (รายบคคล/คณะบคคล)
       3.ระยะเวลาดำเนินการที่กำหนดไว้เหมาะสมหรือไม่
       4.งบประมาณที่กำหนดเหมาะสมหรือไม่
       5.มีการเสนอเพื่อขออนุมัติก่อนดำเนินการหรือไม่

Do (ปฏิบัติตามแผน)

หมายถึง การดำเนินการตามแผน อาจประกอบด้วย การมีโครงสร้างรองรับ การดำเนินการ เช่น
คณะกรรมการหรือหน่วยงานของคณะ ซึ่งคณะเราก็มีการจัดตั้งไว้อยู่แล้ว  จะต้องมีวิธีการ ดำเนินการ
D เราต้องมีผลการดำเนินการตามแผน
      1. มีการกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินการหรือไม่
      2. มีผู้รับผิดชอบดำเนินการได้ตามกำหนดไว้หรือไม่
      3.มีการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องมากน้อยเพียงไร
      4.สามารถดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนดได้หรือไม่
      5.สามารถดำเนินการได้ตามงบประมาณที่กำหนดไว้หรือไม่

Check (ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน)

หมายถึง การประเมินแผน อาจประกอบด้วย การประเมินโครงสร้างที่รองรับ การดำเนินการ การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของ การดำเนินงานตามแผนที่ได้ตั้งไว้ โดยในการประเมินดังกล่าวสามารถ ทำได้เอง โดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบแผนการดำเนินงานนั้น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการประเมินตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการ อีกชุดมาประเมินแผน หรือไม่จำเป็นต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมิน ที่ยุ่งยากซับซ้อน
C เราต้องมีการประเมินการดำเนินการ
       1.ได้มีการกำหนดวิธี/รูปแบบการประเมินหรือไม่
       2.มีรูปแบบของการประเมินเหมาะสมหรือไม่
       3. ผลของการประเมินตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่
       4.ปัญหา/จุดอ่อนที่พบในการดำเนินการมีหรือไม่
       5.ข้อดี/จุดแข็ง ของการดำเนินการมีหรือไม่

Act (ปรับปรุงแก้ไข)

Act หมายถึง การนำผลการประเมินมาพัฒนาแผน อาจประกอบด้วย การนำผลการ ประเมินมาวิเคราะห์ว่ามีโครงสร้าง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใดที่ควร ปรับปรุงหรือพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีก และสังเคราะห์รูปแบบ การดำเนินการใหม่ที่เหมาะสม สำหรับการดำเนินการ ในปีต่อไป
A เราต้องมีการปรับปรุงตามผลการประเมิน
        1.มีการระดมสมองเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา/จุดอ่อนที่ค้นพบ
        2.มีการระดมสมองเพื่อหาทางเสริมข้อดี/จุดแข็งเพิ่มขึ้น
        3.มีการนำผลที่ได้จากการระดมสมอง เสนอคณะกรรมการประกันคุณภาพของคณะเพื่อพิจารณาสำหรับใช้วางแผนครั้งต่อไป
        4.กำหนดกลยุทธ์ในการจัดทำแผนครั้งต่อไป
        5.กำหนดผู้รับผิดชอบไปดำเนินจัดทำแผนครั้งต่อไป


แหล่งที่มา

http://th.wikipedia.org/wiki/PDCA
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=13c6e42e1a74243d
http://www.olrepublic.com/
https://sites.google.com/a/ttc.ac.th/tuktang/xngkhkar-wichachiph/pdca
http://www.gembapantarei.com/PDCA.png
http://202.44.34.144/kmit/knowledge_detail.php?IDKM=341

Verda7788

  • Newbie
  • *
  • Posts: 3
    • View Profile
    • packetlove.com
    • Email
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ
http://www.packetlove.com : Stable web hosting in Thailand
http://ubon.town : แนะนำของกิน ที่เที่ยว ใน จ.อุบลฯ โดยคนอุบลๆแท้