Author Topic: VG1X-4 FXO , FXS  (Read 13203 times)

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
VG1X-4 FXO , FXS
« on: พฤศจิกายน 17, 2014, 02:59:45 PM »


อินเตอร์เฟสหรือพอร์ต FXS, FXO เป็นพอร์ตแบบอนาล๊อก เป็นที่นิยมมากในการเชื่อมต่อโทรศัพท์ธรรมดา เช่นหัวเครื่องโทรศัพท์ แฟ็กซ์ เบอร์โทรศัพท์ เบอร์ภายใน พอร์ตสายนอก เข้ากับระบบ VoIP เพราะว่าต่อง่าย หาได้ทั่วไป ราคาอุปกรณ์ไม่แพง พอร์ตเหล่านี้เราพบเห็นโดยทั่วไปบน VoIP Gateway อาจอยู่ในรูปฮาร์ดแวร์ที่เป็นกล่องเล็กๆ หรือเป็นการ์ดที่ใส่เข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้

พอร์ตแบบ FXS
FXS ย่อมาจาก Foreign Exchage Station หรือ Foreign Exchange Subscriber ธรรมชาติของพอร์ต FXS ก็คือ มันจะจ่ายสัญญาณโทรศัพท์ออกไปในรูปของแรงดันและกระแสไฟฟ้า ความถี่ต่างๆกัน จ่ายแรงดันในสภาวะปกติ จ่ายแรงดันในสภาวะมีสัญญาณเรียก (Ring) จ่ายสัญญาณไดอัลโทนเมื่อผู้ใช้ยกหูโทรศัพท์
ตัวอย่างอุปกรณ์ในระบบโทรศัพท์ซึ่งทำหน้าที่ดังที่กล่าวมาก็ได้แก่ พอร์ตโทรศัพท์จากชุมสายโทรศัพท์ (เบอร์บ้าน เบอร์ออฟฟิศ) พอร์ตสายในของตู้สาขาโทรศัพท์ เราอาจจะเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า "FXS device" ก็ได้นะครับ

พอร์ตแบบ FXO
FXO ย่อมาจาก Foreign Exchage Office เป็นพอร์ตซึ่งรับสัญญาณโทรศัพท์เข้ามา ธรรมชาติการทำงานของพอร์ต FXO ก็คือ มันจะส่งสัญญาณ Off-Hook เมื่อผู้ใช้ยกหูโทรศัพท์ ส่งสัญญาณ On-Hook เมื่อผู้ใช้วางสายโทรศัพท์ การส่งสัญญาณ Off-Hook ทำได้โดยการต่อสวิตซ์ทำให้วงจรไฟฟ้าครบลูปการทำงาน ลองนึกดูตอนที่เราใช้โทรศัพท์ที่บ้านนะครับ เรายกหูโทรศัพท์ขึ้นมาจะทำให้สวิตซ์ภายในต่อวงจรให้ครบลูปแล้วเราจะได้ยินเสียงไดอัลโทนตามมา และการส่งสัญญาณ On-Hook โดยการทำให้วงจรไฟฟ้าไม่ครบลูปการทำงาน เช่นตอนที่เราวางสายโทรศัพท์
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ดังที่กล่าวมา ได้แก่ เครื่องโทรศัพท์ เครื่องแฟ็กซ์ โมเด็ม เครื่องรูดบัตรเครดิต พอร์ตสายนอกของตู้สาขา (CO Line) เป็นต้น และเราเรียกอุปกรณ์นี้ว่า "FXO device"

การเชื่อมต่ออุปกรณ์

ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์โทรศัพท์ เราจะไม่เชื่อมอุปกรณ์ประเภทเดียวกันเข้าด้วยกันนะครับ เพราะมันจะทำงานไม่ได้ เช่น เอา FXO device มาต่อกับ FXO device มันก็จะไม่เวอร์ค หรือเอา FXS device มาต่อกับ FXS device แบบนี้ก็ไม่เวอร์คอีกเหมือนกัน แถมโชคร้ายอุปกรณ์พังอีก ไม่คุ้มนะครับ เราต้องเอาอุปกรณ์ชนิดตรงกันข้ามมาต่อกัน เช่น FXS device ต่อกับ FXO device อย่างนี้เวอร์คแน่นอน โดยที่ด้าน FXS จะเป็นฝ่ายให้แรงดัน กระแส สัญญาณไดอัลโทน ส่วน FXO ก็จะรับเข้ามา ในขณะเดียวกัน FXO ก็จะให้สัญญาณ Off/On-Hook และ FXS ก็จะรับสัญญาณนั้นเข้ามา

การเชื่อมต่อพอร์ต FXS/FXO ของอุปกรณ์ VoIP Gateway/ATA

ถ้าจะต่อเบอร์โทรศัพท์ เบอร์ภายในตู้สาขา ต้องต่อกับพอร์ต FXO เท่านั้นนะครับ ถ้ายังสงสัยว่าทำไมต้องเป็นพอร์ต FXO รบกวนอ่านข้อมูลด้านบนนะครับ
หรือถ้าจะต่อเครื่องโทรศัพท์ เครื่องแฟ็กซ์ โมเด็ม พอร์ต CO Line ของตู้สาขา เครื่องรูดบัตรเครดิต ต้องต่อกับพอร์ต FXS นะครับ

Signaling ที่ใช้กับ FXS, FXO
Signaling คือกลไกการควบคุมการทำงานของพอร์ต FXS, FXO ครับ ได้แก่ การยกหู การวางหู การจ่ายสัญญาณโทน เป็นต้น ซึ่ง Signaling แบบที่นิยมใช้คือ Loop Start ครับ


ขอบพระคุณข้อมูลจาก : http://www.voip4share.com/voip-f39/fxs-fxo-t119.html
« Last Edit: พฤศจิกายน 17, 2014, 03:12:16 PM by golfreeze »

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
Re: VG1X-4 FXO , FXS
« Reply #1 on: พฤศจิกายน 17, 2014, 03:01:15 PM »
VG1X-4    4FXO    4    7,590 บาท

http://billiontel.com/ShowProducts.php?PrdID=148

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
Re: VG1X-4 FXO , FXS
« Reply #2 on: ตุลาคม 19, 2015, 04:38:55 PM »
การทำงานของ VoIP Gateway

เมื่อทำหน้าที่เป็นด้านส่ง

1. ส่วนอินเตอร์เฟสกับระบบโทรศัพท์ดั้งเดิม
เป็นส่วนที่เชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิม เช่น เครื่องโทรศัพท์ แฟ็กซ์ เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น ส่วนนี้จะมีอินเตอร์เฟส (หรือพอร์ต) ทำให้ใช้โทรศัพท์ระบบดั้งเดิมใช้งานผ่านโครงข่าย VoIP ได้ ซึ่งนี่เป็นจุดประสงค์หลักในการผลิตอุปกรณ์ VoIP ขึ้นมาครับ พอร์ตเชื่อมต่ออยู่ประมาณ 3-4 ประเภทครับเพื่อให้เหมาะสมกับประเภทอุปกรณ์ที่จะนำมาเชื่อมต่อได้แก่
- พอร์ตแบบ FXS (Foreign Exchange Station) เป็นพอร์ตแบบอนาล๊อก สำหรับต่อกับหัวเครื่องโทรศัพท์ เครื่องแฟ็กซ์ หนึ่งพอร์ตใช้สาย 2 เส้น เรียกว่า Tip และ Ring
- พอร์ตแบบ FXO (Foreign Exchange Office) เป็นพอร์ตแบบอนาล๊อก สำหรับต่อกับเบอร์โทรศัพท์บ้าน เบอร์ออฟฟิศ หรือเบอร์ Extension ของตู้สาขา หนึ่งพอร์ตใช้สาย 2 เส้น เรียกว่า Tip และ Ring
- ไม่มีพอร์ตแต่ใส่ซิมการ์ดได้ ใส่ซิมการ์ดของโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ GSM หรือ CDMA เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ากับ VoIP
- พอร์ตแบบ E&M (Ear and Mouth) เป็นพอร์ตแบบอนาล๊อก สำหรับต่อกับตู้สาขาที่มีพอร์ตแบบนี้ ปัจจุบันพอร์ต E&M แทบไม่มีใช้งานแล้วครับเพราะมีการเชื่อมต่อแบบอื่นมาแทน หนึ่งพอร์ตใช้สาย 7 เส้น ได้แก่ Tx 2 เส้น, Rx 2 เส้น, E 1 เส้น, M 1 เส้น และ Signal Ground 1 เส้น
- พอร์ตแบบ ISDN BRI (Integrated Service Digital Network - Basic Rate Interface) โดยสาย ISDN BRI หนึ่งเส้น รับส่งสัญญาณเสียงได้ 2 แชนแนลหรือ 2 คู่สายพร้อมกันครับ คุณภาพจะดีกว่าการเชื่อมต่อแบบอนาล๊อก ใช้แบนวิดธ์แชนแนลละ 64 Kbps
- พอร์ตแบบ T1 เป็นการเชื่อมต่อแบบดิจิตอล สาย T1 เส้นหนึ่งรับส่งสัญญาณเสียงได้ 23 คู่สายพร้อมๆกัน มีใช้ในทวีบอเมริกา ไม่มีใช้ในประเทศไทยครับ
- พอร์ต E1 สำหรับต่อกับตู้สาขาหรือชุมสายโทรศัพท์ที่มีพอร์ตแบบนี้ เป็นการเชื่อมต่อแบบดิจิตอล สามารถรับส่งได้มากพร้อมๆกัน เช่น E1 แบบ 1 พอร์ตสามารถรับส่งสัญญาณเสียงได้ 30 แชนแนลหรือ 30 คู่สายพร้อมๆกัน ใช้แบนวิดธ์แชนแนลละ 64 Kbps พอร์ตแบบ E1 ยังแบ่งออกเป็น E1 R2, E1 PRI, E1 Q.SIG เป็นต้น

พอร์ต FXS มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "Phone" และพอร์ต FXO มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "Line" ถ้าเจอ Phone/Line ก็ไม่งงแล้วนะครับว่ามันคือพอร์ตอะไร ส่วนพอร์ต PSTN นั้นสำหรับต่อกับเบอร์โทรศัพท์หรือเบอร์ Extension ของตู้สาขา แต่มันไม่ใช่พอร์ต FXO นะครับ แค่คล้ายๆแต่ทำงานต่างกัน

2. ส่วนแปลงสัญญาณอนาล๊อกเป็นดิจิตอล
สัญญาณเสียงพูดจากปากของคนเรา เป็นสัญญาณอนาล๊อก (Analog) เหมาะกับรับส่งผ่านระบบโทรศัพท์พื้นฐาน ไม่เหมาะสมที่จะส่งไปใน Internet โดยไม่มีการแปลงนะคับ เพราะว่าข้อมูลที่วิ่งอยู่ในอินเตอร์เน็ตเป็นแบบดิจิตัล (Digital) ทั้งหมด
ดังนั้นส่วนนี้จะทำการแปลงสัญญาณเสียงแบบอนาล๊อกให้เป็นดิจิตอล โดยการสุ่ม (Sampling) สัญญาณในอัตราความเร็ว 8000 ครั้งต่อวินาที แต่ละครั้งที่สุ่มได้จะแปลงให้เป็นข้อมูลดิจิตอลขนาด 8 บิต และดังนั้นทำให้ใน 1 วินาที ได้เป็นข้อมูลดิจิตอลขนาด 64000 บิต หรือ 64 Kbps

3. ส่วนบีบอัดสัญญาณเสียง
สัญญาณเสียงที่อยู่ในรูปแบบสัญญาณดิจิตอล ต้องการแบนวิดธ์อย่างน้อย 64 Kbps ซึ่งไม่หมาะสมกับการส่งเข้าไปใน Internet เพราะสิ้นเปลืองแบนวิดธ์มาก จึงต้องนำมาบีบอัดสัญญาณก่อนโดยใช้อัลกอริทึมหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า Codec แบบต่างๆ เช่น G.729, G.723.1 เป็นต้น ซึ่งจะสิ้นเปลืองแบนวิดธ์น้อยกว่ามาก แต่สัญญาณเสียงยังมีคุณภาพที่ยอมรับได้อยู่

4. ส่วนแปลงสัญญาณเสียงให้เป็นแพ็กเก็ต
แม้ว่าสัญญาณเสียงพูดซึ่งถูกบีบอัดด้วย Codec แบบต่างๆ ทำให้สิ้นเปลืองแบนวิดธ์น้อยลง แต่ก็ยังไม่เหมาะสมที่จะส่งไปใน Internet อยู่ดีครับ เพราะว่ามันยังมีลักษณะเป็นขบวนแถวยาวติดกันเป็นพืด ไม่เหมาะสมกับการรับส่งผ่าน Internet ซึ่งข้อมูลจะต้องเป็น Packet มีขนาดความยาวที่ต้องไม่เกินมาตรฐานที่ยอมรับได้ เช่น ขนาดไม่เกิน 1500 ไบต์ เป็นต้น ดังนั้นสัญญาณเสียงจะต้องถูกนำมาแบ่งซอยให้เป็น Packet เล็กๆก่อนครับ เช่นแบ่งทีละ 20 ms หรือ 40 ms เป็นต้นหรือมากกว่านี้ก็ได้

5. ส่วนทำให้เป็น VoIP
ส่วนนี้จะรับวอยส์ (หรือสัญญาณเสียง) ซึ่งถูกแบ่งให้เป็นแพ็กเก็ตแล้ว จากนั้นจะทำการเพิ่มข้อมูลที่จำเป็นซึ่งเรียกว่า Header ที่เหมาะสมตามโปรโตคอล VoIP ที่จะใช้งาน เช่น SIP, H.323, IAX, MGCP เป็นต้น นอกจากจะมี VoIP Protocol แล้วก็ยังมี Codec ที่ใช้ หมายเลขพอร์ตที่ใช้ นอกจากนั้นก็จะเพิ่มข้อมูลควบคุมเข้าไปด้วย เช่น ขนาดความยาว Packet ของวอยส์ ลำดับของแพ็กเก็ต เพื่อให้ปลายทางนำมาแพ็กเก็ตมาเรียงลำดับกันได้อย่างถูกต้อง

6. ส่วนที่จะเชื่อมต่อกับ Internet
ส่วนนี้จะเชื่อมต่อกับ Internet หรือ Intranet โดยต่อผ่านพอร์ต WAN (Wide Area Network) เข้า ADSL Router หรือ Switch ภายในออฟฟิศก็ได้นะครับ แต่ก่อนที่จะส่งออกมามันจะนำ VoIP Packet มาแปะ Header ซะก่อนเพื่อให้เหมาะสมที่จะส่งเข้าไปใน Internet อาทิเช่น IP Address ของมัน IP Address ของ Gateway ปลายทาง MAC Address ของ ADSL Router เป็นต้น

ขอบพระคุณข้อมูลจาก : http://www.voip4share.com/