Author Topic: การจดทะเบียน บริษัท  (Read 12916 times)

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
การจดทะเบียน บริษัท
« on: กรกฎาคม 14, 2014, 10:28:23 AM »
การจดทะเบียน บริษัท

ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทภายในหนึ่งวัน
http://www.dbd.go.th/download/downloads/03_boj/intro_step_bj_establish_1.pdf
http://www.kmnraccount.com/index.php?option=com_content&view=article&id=53

ประโยชน์ที่ได้รับของการจดทะเบียน
http://www.set.or.th/th/products/listing/info_p1.html

Login ระบบของจดทะเบียนบริษัท
http://eregist.dbd.go.th/Member/faces/member/changePwd.jsp
« Last Edit: กรกฎาคม 14, 2014, 10:46:03 AM by golfreeze »

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
Re: การจดทะเบียน บริษัท
« Reply #1 on: พฤศจิกายน 12, 2014, 04:45:14 PM »
 คำถามยอดฮิต จะจัดตั้งนิติบุคคลในรูปแบบใดดี ระหว่างบริษัท กับห้างหุ้นส่วน
Submitted by prickthai on Wed, 02/29/2012 - 15:35

ก่อนจะจัดตั้ง อะไรก็ตามที่คุณต้องการ ตั้งสติและสอบถามตัวเองก่อน..คุณพร้อมหรือยัง..ถ้าพร้อมแล้วมารับรู้ภาระหน้าที่ที่คุณจะต้องเจอเมื่อจัดตั้งเป็นนิติบุคคล
1. กรมพัฒนธุกิจการค้า หรือที่เราเรียกกันว่า พาณิชย์จังหวัด นั่นแหละ สิ่งที่เราจะต้องนำส่ง ก็คือ
- งบการเงิน ประจำปี หากไม่ส่งถูกปรับสูงสุด 12,000 บาท หากส่งช้าก็ค่าปรับตามอัตราที่กำหนด

2. กรมสรรพากร สิ่งที่เราต้องรู้ก็คือ
- ถ้าเราจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเรียกสั้นๆ ว่า แวต (VAT) มีหน้าที่ต้องยื่นแบบทุกเดือน ถ้าไม่ยื่นเดือนนั้นต้องจ่ายค่าปรับไม่ยื่นแบบ 500 บาท ถ้าไม่มีภาษีต้องจ่ายก็ถือว่าโชคดี แต่เมื่อไหร่มีภาษีต้องจ่าย โดนเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม กันหนักแน่ รายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะสำหรับ VAT ไว้จะกลับมาอธิบายเฉพาะเรื่องนี้ใหม่
- ภ.ง.ด. 1 , 3 และ 53 เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือ เรามีหน้าที่ต้องหักไว้ และนำส่งสรรพากร ถ้าไม่มีเราก็ไม่ต้องยื่นในเดือนนั้น พูดง่ายๆ เดือนไหนมีถึงนำส่ง
- ภ.ง.ด. 51 จะต้องประมาณการรายได้ทั้งปี และนำไปยื่น ภายใน 2 เดือนหลังรอบระยะบัญชี 6 เดือน ถ้าไม่ยื่นก็ถูกปรับ 2,000 แบบนี้ผู้ประกอบการโดนกันเยอะ เพราะไม่ยื่นคิดว่าไม่ยื่นก็ได้
- ภ.ง.ด. 50 ยื่นภายใน 150 วัน หลังจากปิดงบการเงินประจำปี ถ้าไม่ยื่นก็ถูกปรับ 2,000 บาท และต้องยื่นพร้อมกับงบการเงินที่รับรองโดยผู้ สอบบัญชี
- ภ.ง.ด. 1 ก สรุปรายงานการจ่ายเงินเกี่ยวกับพนักงานทั้งปี

3. สำนักงานบัญชี จะเลือกทำกับใครนั่นก็แล้วแต่เจ้าของเงิน การเลือกก็ต้องพิจารณาว่า จะรับ-ส่ง เอกสารทางบัญชีกันได้สะดวกหรือไม่ ไว้ใจเรื่องเงินๆทองได้มากน้อยแค่ไหน ความรับผิดชอบที่จะได้รับตอบแทนเมื่อเสียเงินจ้างไปแล้ว ความเสี่ยงด้านภาษีต่างๆ รอบรู้จริงแท้แค่ไหน จากการบอกเล่า ของเจ้าของกิจการบางคน ทำให้ทราบว่ายังมีบางสำนักงานทำให้วิชาชีพอย่างเราเสียหาย เช่น สรรพาเรียกตรวจก็ไม่รับผิดชอบ จ่ายเงินภาษีให้ไปจ่ายกับสรรพากรก็ไม่ไปจ่ายจนสรรพากรมีจดหมายเรียกพบ มีปัญหาขอคำปรึกษาก็ไม่เต็มใจตอบ โทรไปก็ติดยาก ทีมาเก็บเงินเร็วมาก อีกมากมายที่ได้ยินมา แต่ก็เชื่อว่านั่นเป็นส่วนน้อย นักบัญชีที่ดีไม่ทำแบบนี้แน่นอน เพราะจะคิดอย่างละเอียดรอบคอบเสมอเรื่องเงินๆทองๆ และยิ่งเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆยิ่งระมัดระวังอย่างยิ่งเพราะสิ่งที่จะเกิดขึ้นมันคือเงินออกจากกระเป๋าเราอย่างไม่มีข้อต่อรอง หรือหากจะต้องต่อสู้ก็ต้องใช้เวลา เสียทั้งเงินและเวลา
ไม่ใช่แค่สำนักงานบัญชีบางที่ที่โดนต่อว่า มาดูฝั่งผู้จ้างว่า ในบางครั้ง ท่านก็ไม่เข้าใจในสิ่งที่เราเตือนเลย เช่น ต้องจ่ายภาษีนะ ต้องส่งเอกสารล่วงหน้านะ ท่านก็ให้เราโทรติดตามหลายครั้ง ส่งเอกสารมาก็คืนนี้พรุ่งนี้ต้องยื่นแบบแล้ว จะเอาเวลาไหนมาละเอียดถี่ถ้วน เงินค่าจ้างจ่ายบ้างไม่จ่ายบ้าง ช้าตลอด และยังจะให้สำรองจ่ายให้ก่อนอีก เอกสารทำไม่ถูกต้องผิด ใช้ไม่ได้ บอกแล้วครั้งต่อมาก็ยังเหมือนเดิม
บางกิจการไม่อยากเสียเงินจ้างทำ จะทำเอง ทำไปทำมาผิดๆถูกๆ ผลสุดท้ายก็ยังต้องมาจ้างสำนักงานบัญชีทำอยู่ดี เผลอๆอาจจะแพงกว่าที่คุณจ้างตั้งแต่แรกก็ได้ จำไว้ได้เลยไม่ว่ายังไง เค้าก็ต้องคิดค่าจ้างคุณตั้งแต่เริ่มต้น เพราะต้องทำบัญชีใหม่ทั้งหมดให้คุณอยู่ดี ถึงแม้คุณจะทำมาแล้วก็ตาม เจ้าของกิจการจะไม่เข้าใจว่าทำบัญชีคืออะไร การทำบัญชีก็คือ การเอาเอกสารแต่ละใบของคุณมาบันทึกบัญชี เพื่อให้ออกมาเป็นรายงานทางการเงิน ไม่ใช่แค่การยื่นภาษีเท่านั้น
จากนั้นก็มาพิจารณาว่าจะตั้งเป็นห้างหุ้นส่วน หรือเป็นบริษัท และทั้งสองแบบแตกต่างกันอย่างไร
ก่อนอื่น ถามตัวคุณเองก่อน จะตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร ทำไม ส่วนใหญ่คำตอบที่ได้รับก็คือเพื่อนแนะนำมา ลูกค้าบอกขอหนังสือรับรองบริษัท จะใช้กู้ธนาคารบ้าง มาดูกันว่าแต่ละแบบต่างกันยังไง
1. ห้างหุ้นส่วน (Partnership) เป็นรูปแบบของการดำเนินธุรกิจ ที่มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมาร่วมกันจัดตั้ง กิจการ โดยเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน มีสัญญาเข้าเป็นหุ้นส่วนกัน และแบ่งผลกำไรกัน ห้างหุ้นส่วนมี 2 ประเภท คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Unlimited Partnership) ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนประเภทที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนี้จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ กับห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทที่มีหุ้นส่วนบางคนรับผิดชอบเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตน รับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้นเท่านั้น ความน่าเชื่อถือจะมากกว่า กิจการเจ้าของคนเดียวหรือร้านค้าธรรมดา
2. บริษัทจำกัด (Limited Company) เป็นรูปแบบของการดำเนินธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งเงินทุนเป็นหุ้นมี มูลค่าเท่า ๆ กัน ผู้ถือหุ้นซึ่งก็คือเจ้าของกิจการต้องรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ ตนเองจ่ายเงินลงทุน เช่น ถือหุ้น 20% จ่ายเงินไป 1 แสน ก็รับผิดชอบแค่ 1 แสน ดังนั้นใครถือเยอะก็รับผิดชอบเยอะ ความน่าเชื่อถือมากกว่า 2 รูปแบบ
3. กิจการเจ้าของคนเดียว คือ กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว ควบคุมการดำเนินเอง
ทั้งหมด เมื่อกิจการประสบผลสำเร็จมีผลกำไรก็จะได้รับผลประโยชน์เพียงคนเดียว ในขณะเดียวกันก็ยอมรับการเสี่ยงภัยจากการขาดทุนเพียงคนเดียวเช่นกัน กิจการประเภทนี้มีอยู่ทั่วประเทศจำนวนมาก ได้รับความนิยมสูงสุดและเป็นธุรกิจที่เก่าแก่ที่สุด การดำเนินงานไม่สลับซับซ้อน มีความคล่องตัวสูงในการตัดสินใจดำเนินงาน กิจการมีขนาดเล็กกว่าธุรกิจประเภทอื่น ตัวอย่างกิจการประเภทนี้ เช่น หาบเร่แผงลอย ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ร้านเสริมสวย ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ปัจจุบันขอใบทะเบียนการค้าได้ที่ อบต. พื้นที่ที่จะจัดตั้ง

ลำดับ รายการ บริษัท ห้างหุ้นส่วน ร้านค้าธรรมดา

1 ค่าบริการในการจัดตั้ง ทุน 1 ล้านบาท 11,000 4,500 1,500

2 ผู้ถือหุ้น 3 คน 2 คน 1 คน

3 ทุนจดทะเบียน 1 ล้าน N/A ไม่มี

4 ความน่าเชื่อถือ มาก พอสมควร N/A

5 จดทะเบียน VAT จดได้ จดได้ จดได้

6 ไม่เข้า VAT ได้หรือไม่
(ถ้ารายได้ไม่เกิน 1.8 ล้าน) ได้ ได้ ได้

7 หน้าที่จัดทำบัญชี ต้องทำ ต้องทำ N/A

8 ค่าบริการทำบัญชี เริ่มต้น 1,500 1,500 N/A

9 ค่าสอบบัญชี รายปี 8,000 5,000 ไม่มี

10 ความรับผิดชอบ เฉพาะที่จ่ายลงทุน เฉพาะที่จ่ายลงทุน ไม่จำกัด

11 ข้อบังคับทางกฏหมาย มาก มาก น้อย

12 เลิกกิจการ ยาก ยาก ง่าย

13 การควบคุมกิจการ ยาก ยาก ง่าย

จะสังเกต ได้ว่า การตั้งห้างฯหรือบริษัท ในรูปแบบทางบัญชีไม่ได้แตกต่างกัน ต้องจัดทำบัญชีเหมือนกัน เสียภาษีเหมือนกัน แตกต่างกันที่ จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในการตรวจสอบบัญชี เนื่องจากห้างฯ เราสามารถใช้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรเซ็นงบการเงินได้ แต่บริษัทฯ เราจะต้องใช้ผู้สอบบัญชีอิสระเซ็นงบการเงินเท่านั้น ศักดิ์ของผู้สอบบัญชีก็แตกต่างกัน ดังนั้นเงินที่ต้องจ่ายก็จะแตกต่างกันด้วย หากจะจะอธิบายว่าแตกต่างกันอย่างไร ต้องรอคำอธิบายในครั้งต่อไป


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://atchonburi.com/accounting/content/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AE%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%97-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
Re: การจดทะเบียน บริษัท
« Reply #2 on: กันยายน 22, 2015, 09:54:24 PM »
รองนายกรัฐมนตรี ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีระยะเร่งด่วน ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 10% นาน 2 รอบบัญชี และยกเว้นภาษีให้เอสเอ็มอีตั้งตัวใหม่ 5 ปี พร้อมออกสินเชื่อ 2.6 แสนล้าน อีกด้านขีดเส้นใต้รถคันแรก ต้องรับมอบรถยนต์ภายในวันที่ 30 ก.ย. นี้ ตามโมเดลในใบจองเท่านั้น
วันนี้ (8 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในระยะเร่งด่วน แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรก เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้เอสเอ็มอีด้วยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 10% สำหรับเอสเอ็มอีที่มีกำไรตั้งแต่ 300,001 บาทขึ้นไป เป็นเวลา 2 รอบบัญชี และยกเว้นภาษีให้เอสเอ็มอีกลุ่มที่เริ่มกิจกรรมใหม่ เป็นเวลา 5 ปี คาดว่า รัฐจะสูญเสียรายได้ราว 5,000 ล้านบาท พร้อมกับการอนุมัติวงเงินสินเชื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีอีก 3 โครงการ วงเงินรวม 260,000 ล้านบาท ส่วนระยะที่ 2 เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เอสเอ็มอีทั้งระบบ โดยจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรมจะกลับไปจัดทำมาตรการมาเสนออีกครั้ง

ด้าน นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีนี้แบ่งออกเป็น 2 มาตรการ คือ มาตรการทางการเงิน มี 3 มาตรการย่อย ประกอบด้วย โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้กับเอสเอ็มอี วงเงิน 100,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินจะเป็นผู้ปล่อยกู้ให้กับธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงิน ดอกเบี้ย 0.1% และให้ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินปล่อยกู้ให้เอสเอ็มอี ดอกเบี้ยไม่เกินปีละ 4% ระยะเวลา 7 ปี โดยให้เสนอคำขอรับสินเชื่อได้ถึง 31 ธ.ค. 58 ส่วนวงเงินชดเชยดอกเบี้ย รัฐจะชดเชยให้วงเงินรวม 20,020 ล้านบาท ซึ่งในช่วง 4 ปีแรก รัฐจะชดเชยให้ปีละ 2,860 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการค้ำประกันสินเชื่อโครงการพีจีเอส ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จากวงเงินเดิม 80,000 ล้านบาท เป็น 100,000 ล้านบาท พร้อมปรับปรุงเงื่อนไขการรับประกันความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ จากเดิมต้องรับภาระจ่ายชดเชยสัดส่วน 30% ของวงเงินกู้ เปลี่ยนเป็น 15% แรก บสย. จะรับประกันความเสี่ยงให้เพิ่มเติม ส่วนที่เหลืออีก 15% บสย. จะแบ่งกับธนาคารพาณิชย์ฝ่ายละ 7.5% เพื่อช่วยจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีมากขึ้น โดยรัฐจะชดเชยค่าธรรมเนียมค้ำประกันตลอดอายุโครงการ รวม 10,250 ล้านบาท โดยช่วง 4 ปีแรก ชดเชยให้ 4,000 ล้านบาท รวม 14,250 ล้านบาท โดยสิ้นสุดระยะเวลาขอค้ำถึง 30 มิ.ย. 59

นอกจากนั้น ให้ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ตั้งกองทุนร่วมลงทุน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเอสเอ็มอีที่มีฐานเงินทุนไม่เพียงพอ ให้สามารถกู้เงินกับสถาบันการเงินได้

ด้าน พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการรับมอบรถยนต์ตามโครงการรถยนต์คันแรก ตามที่กระทรวงการคลัง นำเสนอว่า ที่ประชุมได้อนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยกำหนดให้ผู้ขอใช้สิทธิตามโครงการจะต้องรับมอบรถยนต์ภายในวันที่ 30 ก.ย. 2558 และจะต้องเป็นรถยนต์ตามโมเดลในใบจองเท่านั้น พร้อมให้ยื่นเอกสารเพิ่มเติมภายใน 90 วัน นับถัดจากวันรับมอบรถยนต์ตามที่กำหนดไว้ในมติ ครม. เมื่อวันที่ 30 ก.ค. 2555 โดยหากรับมอบรถยนต์ภายหลังวันที่ 30 ก.ย. ให้ถือว่าไม่ได้รับสิทธิตามโครงการนี้ และจะไม่สามารถเรียกร้องสิทธิและค่าเสียหายใด ๆ กับทางราชการได้

ทั้งนี้ มติ ครม. เมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2554 ได้อนุมัติหลักการและแนวทางการคืนเงินแก่ผู้ซื้อรถยนต์ตามโครงการตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2554 - 31 ธ.ค. 2555 แต่ช่วงปลายปี 2554 ได้เกิดเหตุอุทกภัย เป็นเหตุให้ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ได้ทันตามวันที่สิ้นสุดโครงการ และจากผลการดำเนินงานมีผู้อยู่ในสถานะขอใช้สิทธิ จำนวน 1,234,773 ราย เป็นเงิน 91,125 ล้านบาท ปัจจุบันยังยังมีผู้ไม่ได้ยื่นเอกสารเพิ่มเติม จำนวน 111,481 ราย ซึ่งทางกรมสรรพสามิตได้ส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มดังกล่าว และมีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมา จำนวน 10,289ราย โดยไม่ประสงค์จะขอใช้สิทธิมีจำนวนถึง 7,620 ราย

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
Re: การจดทะเบียน บริษัท
« Reply #3 on: กันยายน 27, 2015, 10:55:28 PM »
เปิดบัญชีธนาคาร ของนิติบุคคล
ประเภทของบริการ
หนึ่งในบริการจาก บริการจัดการด้านการเงินกสิกรไทย ที่สามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่าง ด้วยบริการทางการเงินที่หลากหลาย พร้อมเครือข่ายสาขาที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ จึงสามารถตอบสนองทุกความต้องการของทุกหน่วยงานได้อย่างลงตัว คุณจึงสามารถบริหารเงินของคุณได้อย่างคล่องตัวด้วยความมั่นใจสูงสุดกับธนาคารกสิกรไทย พร้อมความมั่นคงทางการเงินที่ทุกคนวางใจ
ธนาคารให้บริการบัญชีเงินฝากสำหรับนิติบุคคล 3 ประเภทบัญชีดังนี้

1. เงินฝากกระแสรายวัน (Current Deposits) คือ บริการเงินฝากประเภทจ่ายคืนเมื่อทวงถาม เหมาะสำหรับลูกค้านิติบุคคลทั่วไปที่ต้องมีการหมุนเวียนเข้าออกของเงินอยู่เป็นประจำ โดยใช้เช็คในการสั่งจ่ายแทนการชำระด้วยเงินสดหรือการโอนเงิน โดยไม่จำกัดวงเงิน ทั้งนี้ บัญชีประเภทนี้จะไม่ได้รับดอกเบี้ยและไม่มีสมุดคู่ฝาก แต่ลูกค้าสามารถแจ้งความจำนงเพื่อให้ธนาคารจัดทำใบแจ้งรายการเดินบัญชี (Statement) เพื่อส่งให้เป็นประจำทุกเดือนได้ฟรี ที่สาขาเจ้าของบัญชี

2. เงินฝากออมทรัพย์ (Savings Deposits) คือ เป็นบริการเงินฝากประเภทจ่ายคืนเมื่อทวงถาม โดยธนาคารจะออกสมุดคู่ฝากเป็นหลักฐาน เพื่อใช้ในการนำฝากและถอน  สามารถฝาก-ถอนได้ทุกวันทำการ และได้รับดอกเบี้ยทุกสิ้นงวดบัญชี (ปีละ 2 ครั้ง เดือนมิถุนายน และ ธันวาคม) โดยคำนวณจากยอดคงเหลือในบัญชีทุกสิ้นวัน

3. เงินฝากประจำ (Fixed Deposits) คือ บริการเงินฝากสำหรับ ลูกค้านิติบุคคลทั่วไปที่มีเงินสดที่ยังไม่มีแผนจะนำไปใช้ในช่วงสั้น และต้องการบริหารเงินให้ได้รับผลตอบแทนที่ดีและแน่นอน โดยไม่มีความเสี่ยง ซึ่งปัจจุบัน ธนาคารมีการเสนอเงินฝากประจำให้กับลูกค้านิติบุคคล 4 ในระยะเวลา ได้แก่ ระยะ 3, 6, 12 หรือ 24 เดือน ทั้งนี้ เมื่อครบกำหนดธนาคารจะคำนวณดอกเบี้ยในแต่ละยอดเงินฝากให้ตามอัตราที่กำหนด ณ วันที่เริ่มฝาก นอกจากนี้ บัญชีเงินฝากประจำยังสามารถนำไปใช้เป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเพื่อการกู้ยืมเงินได้

 
เอกสารประกอบการเปิดบัญชีของ บริษัทจำกัด
กฎข้อบังคับของบริษัท
หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทรับรองถึงรายนามกรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท  (ออกให้ไม่เกิน 1 เดือน)
บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
 รายงานการประชุมคณะกรรมการให้บริษัทเปิดบัญชีกับธนาคาร พร้อมด้วยกำหนดผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่ายเช็ค
 หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา บัตรที่เซ็นรับรองสำเนาถูกต้องของบุคคลดังนี้
            - ผู้ถือหุ้นมากกว่า 20 %
            - กรรมการบริหาร 2 ท่าน (เป็นกรรมการผู้จัดการ 1 ท่าน)
           - กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม (กรณีผู้ถือหุ้นที่ไม่ใช่เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ต้องรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจ     ลงนามพร้อมตราประทับของบริษัท) (ยกเว้นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไม่ต้องขอสำเนาเอกสารการแสดงตนของผู้ถือหุ้นเกิน 20 % และ กรรมการบริหาร 2 ท่าน)
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจเซ็นสั่งจ่ายในนามบริษัท ( กรณีที่บัตรแสดงตนไม่แสดงที่อยู่ไว้บนบัตร )
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
แบบ บอจ. 3 หรือ บอจ.4
หนังสือบริคณห์สนธิ
บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของนิติบุคคล
 หนังสือมอบหมายให้ลงลายมือชื่อในเช็ค (ถ้ามี)
 
เงื่อนไขการใช้บริการ
เงินฝากกระแสรายวัน
จำนวนเงินที่ใช้ในการเปิดบัญชีขั้นต่ำ 10,000 บาท
กรณีบัญชีมียอดเงินคงเหลือเฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 1,000 บาท ธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมรักษาบัญชีเดือนละ 100 บาท จนกว่ายอดคงเหลือในบัญชีเป็นศูนย์บาท
เงินฝากออมทรัพย์
จำนวนเงินที่ใช้ในการเปิดบัญชีขั้นต่ำ 500 บาทขึ้นไป
กรณีไม่มีรายการเคลื่อนไหวติดต่อกันเกินกว่า 1 ปีขึ้นไป และมียอดเงินคงเหลือเฉลี่ยต่ำกว่า 2,000 บาท ธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมรักษาบัญชีเดือนละ 50 บาท จนกว่ายอดคงเหลือในบัญชีเป็นศูนย์บาท
เงินฝากประจำ
ฝากขั้นต่ำตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป
กรณีเบิกถอนเงินจากบัญชีก่อนครบกำหนด
      - ถ้าฝากไม่ถึง 3 เดือน งดจ่ายดอกเบี้ย
      - ถ้าฝากมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยสำหรับระยะเวลาที่ฝากไว้จริงไม่เกินอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ ณ วันที่เริ่มฝาก

http://www.kasikornbank.com/th/sme/productandservice/domestictransactions/depositservices/pages/businessdepositthaibaht.aspx