Author Topic: ยื่นภาษี กลางปี ภ.ง.ด 51 กับ เต็มปี ภ.ง.ด 50 ของนิติบุคคลและบริษัทจำกัด  (Read 20267 times)

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
ยื่นภาษี กลางปี ภ.ง.ด 51 ของบริษัทที่เป็น นิติบุคคล บริษัทจำกัด

การยื่นภ.ง.ด.51 เป็นการยื่นประมาณการกำไรสุทธิของบริษัททั้งปี โดยดูจากผลประกอบการจริงเดือน มกราคม – กรกฎาคม บวกด้วย ประมาณการกำไรสุทธิ เดือนสิงหาคม – ธันวาคม ก็จะได้ประมาณการของทั้งรอบระยะเวลาบัญชี จากนั้นหารด้วย 2 เพื่อให้ได้ตัวเลขมาคำนวณภาษีครึ่งปี

          กรณีบริษัททั่วไป อัตราภาษีร้อยละ 30

          กรณีลดอัตรา สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท สำหรับกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มใน หรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป

กำไรสุทธิ 0-150,000 ยกเว้นอัตราภาษี
กำไรสุทธิ 150,000-1,000,000 อัตราภาษี ร้อยละ 15
กำไรสุทธิ 1,000,000-3,000,000 อัตราภาษี ร้อยละ 25
กำไรสุทธิ เกิน 3,000,000 ขึ้นไป อัตราภาษี ร้อยละ 30
          อย่างไรก็ดี ปัญหาที่พบบ่อยในการยื่นภ.ง.ด.51 คือการประมาณการกำไรสุทธิผิดพลาดทำให้ต้องเสียค่าปรับในภายหลัง

          เนื่องจากตามมาตรา 67 ระบุว่า หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแสดงประมาณกำไรสุทธิขาดไป เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ต้องเสียเงินเพิ่ม 20% ของภาษีที่ชำระขาด นอกจากจะมีเหตุอันสมควร อันได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน หรือคำสั่งซื้อจากลูกค้ารายใหม่ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้

          ตัวอย่างเช่น

กำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50 = 9,000,000 บาท

ประมาณการกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.51 = 7,500,000 บาท

ประมาณการขาดไป = 2,500,000 บาท

ประมาณการขาดไปร้อยละ 2,500,000 / 9,000,000 x 100 = 27.78

          จากตัวอย่างจะเห็นว่าบริษัทประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ซึ่งจะเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ตามการคำนวณดังนี้

ยื่นภ.ง.ด.51ประมาณการกำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.51 = 7,500,000 บาท

กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ = 3,750,000 บาท

คำนวณภาษี (3,750,000 x 30 %) = 1,125,000 บาท

กำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.50 = 9,000,000 บาท

กึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิ = 4,500,000 บาท

คำนวณภาษี (4,500,000 x 30 %) = 1,350,000 บาท

ภาษีที่ยื่นขาดไป (1,350,000 – 1,125,000) = 225,000 บาท

เงินเพิ่ม 20 % ของภาษีที่ชำระขาดไป (225,000 x 20%) = 45,000 บาท

ที่มา : www.thongthaiacc.com, www.ap-morgan.com
« Last Edit: กรกฎาคม 10, 2016, 08:42:32 PM by golfreeze »

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
วิธีการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.ง.ด. 51 เป็นอย่างไร
ปัจจุบันประมวลรัษฏากรมีทางเลือกในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 วิธี ได้แก่

1. วิธีประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
2. วิธีคำนวณและชำระภาษีจากกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาหกเดือน สำหรับกรณีของบริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์

โดยปกติแล้วบริษัทฯและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไปนั้นจะใช้วิธีการตามข้อ 1. คือคำนวณภาษีเงินได้ครึ่งปีจาก “ประมาณการกำไรสุทธิ” แต่ถ้าหากกิจการใดต้องการที่จะใช้กำไรขาดทุนที่แท้จริงของรอบ 6 เดือนเพื่อคำนวณภาษีเงินได้ครึ่งปีนั้น ต้องดำเนินการตามเงื่อนไขต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีการสอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินเมื่อครบกำหนดระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี รวมถึงขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 128) - Read more at: http://scl.io/R6Q3jaHJ#gs.A5lpyzo

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
ข้อควรระวังสำหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51
การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 เป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีครึ่งปี ซึ่งเป็นการนำส่งภาษีไว้ล่วงหน้า โดยความผิดที่อาจจะเกิดขึ้นได้สำหรับกรณีนี้นั้น มีอยู่ 2 กรณี คือ การยื่นแบบแสดงรายการล่าช้า และ การประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25

1. การยื่นแบบล่าช้า กรณีที่ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการตามกำหนดเวลา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับอาญาตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้

1. กรณียื่นแบบแสดงรายการ ภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดยื่นรายการ ต้องระวางโทษปรับ 1,000 บาท
2. กรณียื่นแบบแสดงรายการหลังจาก 7 วันนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการต้องระวางโทษปรับ 2,000 บาท

ถ้าหากมีเงินภาษีต้องชำระ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยังต้องรับผิดชอบเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรีแห่งประมวลรัษฎากรในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน

2. การประมาณการกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีขาดไปเกินร้อยละ 25

มาตรา 67 ตรีแห่งประมวลรัษฏากรกำหนดไว้ว่า หากกิจการประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ โดยไม่มีเหตุอันสมควร มีผลทำให้ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ

ตัวอย่างเช่น บริษัทได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.51) โดยประมาณการกำไรสุทธิทั้งปีไว้จำนวน 6,000,000 บาท แต่ปรากฏว่าเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทมีกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้จำนวน 10,000,000 บาท จากกรณีดังกล่าวบริษัทแสดงประมาณการกำไรสุทธิทั้งปีตามแบบ ภ.ง.ด. 50 ต่ำกว่ากำไรสุทธิจริงที่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีไปจำนวน 4,000,000 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ซึ่งถือว่าบริษัทฯได้ประมาณการขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50

อย่างไรก็ตามประมวลรัษฏากรมีบทอนุโลมเพื่อลดหย่อนกรณีประมาณการกำไรขาดเกินไว้ นั่นคือ คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 50/2537 ได้ระบุไว้ว่า ถ้าหากกิจการสามารถเลือกที่จะประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ “ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง” ของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว กรณีดังกล่าวจะถือว่าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควร และถ้าหากกิจการทำได้เพียงเท่านี้ก็ไม่มีปัญหาที่ต้องโดนเบี้ยปรับเงินเพิ่มและยื่นคำร้องขอพิจารณาลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มย้อนหลังอีกต่อไป - Read more at: http://scl.io/R6Q3jaHJ#gs.A5lpyzo

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
ตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งได้ยื่นภาษีเงินได้สำหรับรอบบัญชีปี 2556 ไว้จำนวน 5,000,000 บาท ดังนั้นในปี 2557 บริษัทฯ ดังกล่าวต้องยื่นชำระภาษีครึ่งปีของไว้ไม่ต่ำกว่า 2,500,000 บาท ถึงแม้ว่าจะประมาณการกำไรสุทธิขาดเกินไปกว่าร้อยละ 25 ก็ถือว่าเป็นเหตุอันสมควร เพราะเสียภาษีไว้ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของ 5,000,000 บาท

การคำนวณ “เงินเพิ่ม” เมื่อประมาณการกำไรสุทธิขาดเกินไปกว่าร้อยละ 25
ตัวอย่างเช่น บริษัท SMEs มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าจำนวน 25 ล้านบาท มีกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีคือ 2,500,000 บาท (จากประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี 5,000,000 บาท) ดังนั้นภาษีที่คำนวณได้และต้องยื่นแบบแสดงรายการก็คือก็คือ 405,000 บาทเนื่องจากกิจการดังกล่าวได้รับยกเว้นกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรกตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากรฉบับที่ 564

เมื่อถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ปรากฎว่าบริษัทฯมีกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริงจำนวน 10,000,000 บาท นั่นหมายความว่า บริษัทฯได้ประมาณการขาดเกินไปถึงร้อยละ 50 ซึ่งมากกว่าร้อยละ 25 ดังนั้นวิธีการคำนวณเงินเพิ่มจะเป็นดังนี้

1. กำไรสุทธิตาม ภ.ง.ด.50 = 10,000,000 บาททำให้บริษัทฯมีกึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิ = 5,000,000 บาท
2. คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตราที่กฎหมายกำหนด รวมภาษีที่คำนวณได้ 905,000.00
3. ดังนั้นภาษีที่ยื่นขาดไปจำนวน (905,000 – 405,000) = 500,000 บาท มีผลให้บริษัทต้องเสียเงินเพิ่ม 20 % ของภาษีที่ชำระขาดไป (500,000 x 20%) คือ = 100,000 บาท

เอาล่ะครับ… สำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีครึ่งปีก็คงต้องจบลงในตอนนี้แล้วล่ะครับ หากท่านผู้อ่านท่านใดมีปัญหาสงสัย หรือข้อซักถามใดๆ หรืออยากแนะนำให้เขียนเรื่องอะไรเป็นพิเศษสามารถแวะมาทักทายพูดคุยกันได้ที่หน้า Fanpage ของ“บล็อกภาษีข้างถนน” (Facebook.com/TaxBugnoms) ได้ตลอด 24 ชั่วโมงนะคร้าบบบบ - Read more at: http://scl.io/R6Q3jaHJ#gs.A5lpyzo

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
การยื่น ภ.ง.ด 50 คือการยื่นภาษี ในรอบครบรอบเต็มปี ตามรอบปกติ 1 มค - 31 ธค

เช่นถ้ายื่น ภ.ง.ด 50 ของปี 2558 จะหมดเวลาในการยื่น 29 พฤษภาคม 2559 ตามที่ทางสรรพากรแจ้งไว้
ส่วน ภ.ง.ด 51 ของปี 2559 คือการยื่นรายการภาษีครึ่งรอบ จะหมดเวลาการยื่น ภายใน 31 สิงหาคม 2559 (รอบกลางปี )

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
ถ้ามีการสมัครยื่นออนไลน์อยู่แล้ว สำหรับ ภงด3 , ภงด53 แล้วต้องการสมัครยื่น ภงด50 , ภงด51 เพิ่มเติมสามารถเข้าไปที่เว็บ
แล้วสมัครตามแบบ ภ.อ.20 ได้เลยครับ ไม่ต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติม สะดวกมากๆ 
https://rdserver.rd.go.th/publish/index.php?page=increase_reduce

เมื่อเลือกเสร็จแล้ว submit ก็จะได้รับ Email แจ้งว่าสามารถยื่นออนไลน์สำหรับ ภงด50 , ภงด51 ได้เลยครับผม
ดูรายละเอียดการยื่น ภงด50 , ภงด51 เพิ่มได้ที่นี่ PDF file นะครับผม
http://www.norththonburi.com/attachments/article/81/Chapter%207.pdf

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
ดูเอกสารจากที่นี่ หลักการยื่น ภงด 51 จากทางสรรพากร
http://www.rd.go.th/publish/56794.0.html

golfreeze

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • Posts: 2145
    • View Profile
    • นั่งสมาธิ สติปัฏฐานสี่ พาเที่ยววัด แนะนำวัด แจกcd ธรรมะฟรี
    • Email
สำหรับรายจ่ายด้านบัญชี สำหรับช่วงปลายปี ของนิติบุคคล หรือรูปแบบบริษัท จำกัดนั้นจะมี

1. ค่าผู้ตรวจสอบบัญชี พิจารณาจากงบการเงินทั้งปี ในปีนั้นๆ อัตราค่าบริการตรวจสอบบัญชี มีดังนี้
งบเปล่า อัตราค่าบริการประมาณ 5,000 บาท
งบการเงิน รายได้ไม่เกิน 5 ล้านบาท/ปี อัตราค่าบริการ 7,500 บาท
งบการเงินที่มีรายได้เกิน 5 ล้านบาทต่อปี แต่ไม่เกิน 10 ล้าน อัตราค่าบริการ 12,000 บาท
งบการเงินที่มีรายได้เกิน 10 ล้านบาทต่อปี แต่ไม่เกิน 20 ล้าน อัตราค่าบริการ 15,000 บาท

2. ค่าปิดงบปลายปี คิดตามจำนวนเอกสาร ที่เกิดขึ้นทั้งปี ถ้าเอกสารเยอะก็จะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น

กิจการทุกกิจการที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลฯนั้นต้องปิดงบการเงินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง( จำนวนวันไม่เกิน 365 วัน) เพื่อนำส่งต่อหน่วยงานราชการที่กำกับดูแล ซึ่งหลักๆก็จะมีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพานิชย์ (กำหนดให้บริษัทฯและห้างหุ้นส่วนฯนำส่งงบการเงินภายใน 5 เดือนนับจากวันสิ้นรอบและกำหนดให้บริษัทฯต้องจัดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปีไม่เกิน 120 วันนับจากวันสิ้นรอบ หากบริษัทฯและห้างหุ้นส่วนฯไม่จัดให้มีการประชุมดังกล่าว หรือยื่นงบเลยกำหนดเวลา จักมีระวางโทษและเสียค่าปรับตามที่กฎหมายกำหนด) , และในส่วนกรมสรรพากรนั้นกำหนดให้ บริษัทฯ ห้างหุ้นส่วนฯ และนิติบุคคลอื่นฯที่ตั้งตามกฎหมายไทย หรือตั้งตามกฎหมายต่างประเทศแต่ประกอบกิจการในไทยต้องนำส่งงบการเงินพร้อมทั้งชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล(ถ้ามี)ภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นรอบ ซึ่งหากกิจการไม่นำส่งภายในกำหนดเวลาจักมีค่าปรับ 2 ส่วนคือ ค่าปรับจากการยื่นแบบล่าช้าและค่าเบี้ยปรับ+เงินเพิ่ม 1.5%ต่อเดือน จากค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ท่านนำส่งกรมสรรพากรล่าช้า